ผู้เข้าชม
0
30 มิถุนายน 2564

ทว่าเมื่อได้รับการศึกษาแหล่งที่มาได้อย่างแน่นอน รวมทั้งการศึกษารูปแบบศิลปกรรมที่สามารถกำหนดอายุได้อย่างมีแบบของนักโบราณคดีสมัครเล่น เช่น นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช และผู้ที่สนใจท่านอื่นๆ ก็ได้ทำให้สุวรรณภูมิเป็นดินแดนที่มีอยู่จริง ไม่ใช่เป็นเรื่องราวในตำนานประวัติศาสตร์อีกต่อไป

ทำให้ข้าพเจ้าแลเห็น ‘สุวรรณภูมิ’ ในมิติของเวลา [Time line] และพื้นที่ [Space] ทางประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน โดยเสนอว่าสมัยเวลาทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่แต่เดิมมีเพดานอยู่เพียงแต่ ‘สมัยทวารวดี-เจนละ’ ขึ้นมาเป็น ‘สมัยฟูนัน’ ที่มีอายุแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑ ลงมา จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๘  และจากพุทธศตวรรษที่ ๗ ไปจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๓ คือ ‘สมัยสุวรรณภูมิ’

นวัตกรรมประวัติศาสตร์สุวรรณภูมิเพื่อการพัฒนา

นวัตกรรม [Innovation] คือสิ่งที่คิดใหม่แบบต่อยอดจากฐานความรู้ทางวัฒนธรรมแต่เดิมในสังคมไทย ไม่ใช่ลอกเลียนมาจากภายนอก [Culture contact]

นวัตกรรมที่ทางมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ต้องการที่จะดำเนินการ คือการสร้างความรู้และแนวทางในการพัฒนาสุวรรณภูมิทั้งในเรื่องพื้นที่ [Space] และเวลา [Time] เพื่อการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ โดยคนท้องถิ่นเพื่อให้มีรายได้ทางเศรษฐกิจ [Sustainable tourism] โดยแบ่งออกเป็น ๒ โครงการดังต่อไปนี้

. โครงการสำรวจและพัฒนาแหล่งโบราณคดีบนคาบสมุทรสยาม บริเวณสองฝั่งของคาบสมุทรสยามตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีลงไปจนถึงปัตตานี

คือบริเวณส่วนแคบที่สุดของคาบสมุทรมลายูที่ในเอกสารของนักเดินทางทะเลแต่ปลายสมัยสุวรรณภูมิและสมัยฟูนันเรียกว่า ‘แหลมทอง’ [Golden khersonese] มีเส้นทางข้ามคาบสมุทร [Peninsular routes] หลายเส้นที่มีอายุแต่สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน และทวารวดี-ศรีวิชัย เป็นแหล่งที่พบชุมชนท่าเรือ [Entrepots] ที่พ่อค้าแต่สมัยสุวรรณภูมิเดินทางเข้ามาพบโบราณวัตถุและเครื่องประดับที่มีค่า และแหล่งผลิตเป็นสินค้าเกียรติภูมิ [Prestige goods] ของคนอินเดียและพ่อค้านานาชาติ นับเป็นพื้นที่ในสมัยสุวรรณภูมิอย่างแท้จริง  ทางมูลนิธิได้ทำการสำรวจเส้นทางข้ามคาบสมุทรที่สำคัญไว้บ้างแล้ว และคิดจะทำการสำรวจศึกษาเพิ่มเติมในทางภูมิวัฒนธรรมในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยคนในชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดรายได้ทางเศรษฐกิจแบบพอเพียงร่วมกัน

 ๒. โครงการสำรวจศึกษาเหล่าชุมชนโบราณมีคูน้ำล้อมรอบในที่ราบสูงโคราชเพื่อดูพัฒนาการของชุมชนบ้าน เมือง และรัฐ [Formation of states] 

ที่พัฒนาขึ้นแต่สมัยยุคเหล็ก ๕๐๐ B.C. อันนับเป็นสมัยสุวรรณภูมิลงมาจนถึงสมัยทวารวดีและลพบุรี ข้าพเจ้าและมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ได้ทำการศึกษาสำรวจแหล่งชุมชนโบราณในแต่ละลุ่มน้ำสำคัญของทั้งแอ่งโคราชและแอ่งสกลนครมาอย่างสืบเนื่องกว่า ๔๐ ปีที่ผ่านมา ได้ข้อมูลและหลักฐานทางโบราณคดีเพียงพอแก่การสร้างให้เห็นพัฒนาการของรัฐแรกเริ่ม [Early states] มาเป็นนครรัฐ [City states] และการรวมกลุ่มของนครรัฐเป็น ‘สหพันธ์รัฐหรือมัณฑละ’ ในสมัยทวารวดีและเจนละ จนถึงสมัยลพบุรีและอยุธยา อันเป็นช่วงเวลาที่เกิดราชอาณาจักรขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ในนามของอยุธยาสยามประเทศ


การดำเนินการศึกษาที่ราบสูงโคราชในเรื่องพัฒนาการของรัฐนี้แบ่งออกเป็น ๒ ระยะ ระยะแรกคือ การสำรวจศึกษาทบทวนเพิ่มรายละเอียดตามกลุ่มของเมือง ตามลุ่มน้ำสำคัญที่เป็นสาขาของแม่น้ำมูล แม่น้ำชีในแอ่งโคราชและแม่น้ำสงครามในแอ่งสกลนคร อันได้แก่ ลุ่มน้ำลำปลายมาศ ลุ่มน้ำลำชี และลุ่มน้ำทับทันทางฝั่งใต้ของแม่น้ำมูล ลุ่มน้ำสะแทด ลุ่มน้ำเสียงทางฝั่งเหนือของแม่น้ำมูล อันเป็นที่ตั้งของนครรัฐกลุ่มศรีจนาศะ และเจนละในสมัยทวารวดี และระยะที่สอง ผลจากการศึกษานี้จะนำไปสู่การวางแผนเพื่อการท่องเที่ยวให้กับการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและพหุวัฒนธรรมให้แก่คนในชุมชนท้องถิ่น โดยจะนำร่องด้วยการศึกษาและท่องเที่ยวนครรัฐสำคัญของกลุ่มรัฐศรีจนาศะในลุ่มน้ำลำปลายมาศเป็นปฐม



คำสำคัญ : วิเคราะห์วัฒนธรรม,สุวรรณภูมิ,คาบสมุทรสยาม,ต่างหูทองคำ
ศรีศักร วัลลิโภดม
อีเมล์: [email protected]
อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการด้านมานุษยวิทยาวัฒนธรรมและสังคม ผู้สนใจศึกษางานทางโบราณคดีมาแต่วัยเยาว์จนปัจจุบัน ปรากฎผลงานเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
วิเชียร หลงละเลิง
อีเมล์: Wichianlonglalerng​@gmil.com,
ช่างภาพอิสระ