ผู้เข้าชม
0
19 สิงหาคม 2567

ทั้งช่วงเวลานี้ภาษาไทยเริ่มเข้ามามีอิทธิพล พร้อมกับเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ ถ้าจะดูการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน ให้ไปดูที่ลพบุรี ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ยุคเหล็กเรื่อยมาถึงยุคที่เป็นฮินดู เถรวาท และมหายาน แล้วเปลี่ยนมาเป็นพุทธศาสนานิกายเถรวาทอีกครั้ง 

ถ้าหากกล่าวว่าร่วมสมัยที่นครปฐมนั้น จะเป็นพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบเดิม แล้วพอมาอีกช่วงหนึ่งมีพุทธศาสนานิกายมหายานเข้ามา เช่น เมืองคูบัว ส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนานิกายมหายานแล้วอยู่เรื่อยมา แต่ขณะเดียวกันกลุ่มเถรวาทก็ยังดำรงอยู่ พอมาถึงรุ่นลพบุรีเป็นพุทธศาสนานิกายมหายานแบบกัมพูชา ซึ่งพบว่า มีการนำเทวรูปจากกัมพูชามาจำนวนมากแทนที่จะเป็นมหายานแบบกัมพูชา ซึ่งจะไปดูว่า มีความแตกต่างจากพุทธศาสนานิกายมหายานแบบศรีวิชัย ถ้าเป็น เมืองคูบัว จะต่างจากศรีวิชัย

ที่นี่มีความแปลกในการไม่ตรวจสอบเรื่องการจัดการน้ำ ทั้งที่อยู่ริมลำน้ำ ความจริงควรมีสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนแต่ก่อนนี้ ถือว่าเป็นน้ำทิพย์

สำหรับภาพสลักของครุฑในสมัยลพบุรี แต่ว่าไม่ได้อยู่ที่เมืองสิงห์ จะอยู่บริเวณที่เรียกว่า ‘เมืองครุฑ’ อยู่ห่างจากที่นี่ไปประมาณสักสองสามกิโล เมืองนั้นไม่มีกำแพงแลงล้อมรอบอย่างที่เป็นอยู่นี่ แต่มีแนวคันดินและก็มีแหล่งของการตั้งถิ่นฐานอาศัย แต่ไม่มีซากปราสาท และบอกว่ามีรูปครุฑสลักอยู่ที่หน้าผา แล้วต่อมาก็พังลงมาจึงมาเก็บไว้ที่นี่ เหตุที่พบครุฑ ตอนนั้นจึงเรียกว่าเมืองครุฑ แต่อย่างไรก็ตามมันสะท้อนให้เห็นว่าบริเวณนี้ในลุ่มน้ำแควน้อยนี้เป็นบริเวณที่สำคัญเพราะมีการสร้างบ้านแปลงเมืองทั้งสองเมืองอยู่ด้วยกัน แต่เมืองที่เป็นเมืองสำคัญทางศาสนาคือ เมืองสิงห์

สิ่งเหล่านี้เป็นชิ้นส่วนของปราสาท ยอดปราสาท และสังเกตว่า บริเวณนี้มีการใช้หินทรายและศิลาแลงในการสร้างสถาปัตยกรรม แต่ฝีมือนี้ไม่ใช่ฝีมือแบบขอม แต่เป็นแบบท้องถิ่นมาก จึงไม่ค่อยสวยงามเท่าไหร่ ก็เป็นส่วนของยอดปราสาทยอดซุ้มประตูเท่านั้น...’


รายงานพิเศษ 'เมืองครุฑ' ในสารศิลปากร โดยนายสถาพร ขวัญยืน ได้สรุปถึงข้อมูลที่ได้จาการขุดแต่งโบราณสถาน การขุดตรวจชั้นดิน และการศึกษาสภาพของแหล่งโบราณคดีเมืองครุฑแห่งนี้ไว้อย่าง กว้างๆ ว่า

'...เมืองครุฑเป็นเมืองโบราณตั้งอยู่ในหุบเขาเขตบ้านท่าตาเสือ ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ลักษณะเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๓๓๐ เมตร และยาว ๕๖๐ เมตร มีกำแพงดินขนาดกว้างประมาณ ๑๕ เมตร และสูงประมาณ ๓ เมตร ล้อมอยู่ ๓ ด้าน ยกเว้นด้านทิศตะวันตก ซึ่งอยู่ติดกับเขาเมืองครุฑนั้น ไม่มีกำแพงดิน มีแต่ห้วยมะไฟไหลผ่านเท่านั้น

 

ชิ้นส่วนยอดปราสาททำจากศิลาแลง จากปราสาทเมืองสิงห์

ที่มา: อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์