ผู้เข้าชม
0
19 สิงหาคม 2567

เมืองครุฑ ได้ชื่อนี้มา เพราะการค้นพบชิ้นส่วนประติมากรรมครุฑขนาดใหญ่จนเป็นที่มาของชื่อ และเป็นหนึ่งในชิ้นส่วนที่เชื่อมต่อกับปราสาทเมืองสิงห์ โบราณสถานที่สำคัญ ซึ่งเป็นหลักหมายในการศึกษาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่เลียบเลาะลุ่มแม่น้ำแควน้อย ซึ่งสามารถบ่งชี้สะท้อนถึงความเชื่อทางศาสนาที่สำคัญและแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัยของสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ

ปัจจุบัน ชิ้นส่วนประติมากรรมหินทรายรูปครุฑ ที่ค้นพบ ได้นำมาแสดงที่อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ เป็นชิ้นส่วนของ ขา, เท้า, สะโพก, อก และปีกขวาของครุฑ (คาดว่า ถ้าสมบูรณ์ครบทุกชิ้นส่วน จะสูงประมาณ ๒.๕๐ เมตร) เป็นรูปสลักครุฑแบบลอยตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พร้อมกับชิ้นส่วนลวดลายดอกไม้แกะสลักจากหินทราย

ทั้งที่มีความสำคัญอย่างมากในการเป็นชิ้นส่วนประติมากรรมที่สำคัญของการตีความประวัติศาสตร์และโบราณคดีในลุ่มแม่น้ำแควน้อยและแม่กลอง กลับไม่ค่อยมีงานวิจัยออกมามากนัก อาจจะเป็นเพราะไม่พบเอกสารลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับเมืองครุฑเลย มีแต่เมืองสิงห์ที่ปรากฏในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

 

เมืองครุฑในปัจจุบัน ยังคงหลงเหลือเป็นเนินดินเล็กๆ ทามกลางพื้นที่ทำไร่ทำสวนของชาวบ้าน

 

ศาลบริเวณด้านหน้าเนินดินภายในเมืองครุฑ