ผู้เข้าชม
0
19 สิงหาคม 2567

และเนื่องจากสถานที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับจุดยุทธศาสตร์ ดังนั้นในระยะหลังเมื่อสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างดินแดนต่างๆ เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในยุทธวิธีการรบ การวิเคราะห์ในการจัดตั้งเมืองทางยุทธศาสตร์จึงเปลี่ยนไปด้วย ทำให้เกิดมีเมืองทางยุทธศาสตร์ในเส้นทางสายนี้ขึ้นใหม่ ดังเช่น เมืองไทรโยคทางเส้นทางแควน้อย เมืองศรีสวัสดิ์ทางเส้นทางแควใหญ่ โดยมีเมืองใหญ่กำกับอีกเมืองหนึ่ง ณ ที่ที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกันคือเมืองปากแพรกหรือกาญจนบุรีเก่า

จากจุดนี้เองที่น่าจะทำให้ เมืองสิงห์ ได้หมดความสำคัญ หรือหมดสภาพของฐานะการเป็นเมืองลงไป ศาสนสถานต่างๆ ภายในตัวเมืองจึงถูกปล่อยทิ้งร้างลงไปด้วย

จากแนวคิดใหม่ที่เสนอในเรื่องการกำหนดอายุ แม้จะเป็นการกำหนดอายุให้เมืองสิงห์ไม่เก่าเท่าการกำหนดอายุตามแนวคิดเดิม คือ จะมีอายุใหม่ขึ้นประมาณ ๕๐ ปี แต่เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ และเพิ่มคุณค่าให้แก่ประวัติศาสตร์ของเมืองสิงห์ เพราะเวลาในช่วงนี้ เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองในภูมิภาคแถบนี้...’

 


 

อ้างอิง

อาจารย์ศรีศักรพาเที่ยว 'เส้นทางโบราณ ศึกลาดหญ้า-ปราสาทเมืองสิงห์' มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

รายงานพิเศษ 'เมืองครุฑ' โดย สถาพร ขวัญยืน สารกรมศิลปากร ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๓๗

'เส้นทางเดินทัพ (พม่าตีไทย)' โดย อาจารย์และนักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร 

'เมืองสิงห์ และปราสาทเมืองสิงห์ที่แควน้อย ไม่ใช่ “ขอม” (เขมร) ?!?' พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนเมษายน ปี พ.ศ. ๒๕๓๐

เอกสารอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ 

'เมืองสิงห์และปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี' กรมศิลปากร 

‘การตีความแนวคิดเรื่องครุฑในพุทธปรัชญาเถรวาท’ โดย พระปลัดทองคำ โอภาโส, พระครูศรีปัญญาวิกรม, พระมหาพจน์ สุวโจ วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์ ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – เมษายน ปี พ.ศ. ๒๕๖๖

รายงานวิจัยการสำรวจวัฒนธรรมโบราณบนลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ ด้วยเทคโนโลยีสื่อระยะไกล สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์กรมหาชน) (GISTDA)

'ชุมชนร่วมแบบเขมรบริเวณลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีน : พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม' โดย ธัชสร ตันติวงศ์ นักวิชาการวัฒนธรรม กลุ่มวิชาการโบราณคดี สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร ดำรงวิชาการ



คำสำคัญ : ประติมากรรมครุฑ,เมืองครุฑ,ปราสาทเมืองสิงห์
พรเทพ เฮง
อีเมล์: [email protected]
จบการศึกษาจากคณะโบราณคดี สาขาวิชาเอกโบราณคดี รุ่น ๓๘ ทำงานด้านสื่อ ด้านวัฒนธรรม ศิลปะ และสาระบันเทิงมาค่อนชีวิต