ผู้เข้าชม
0
11 สิงหาคม 2567

พระพุทธรูปทวารวดีขนาดใหญ่ที่พบยังวัดขุนพรหม และวัดหน้าพระเมรุ (เอามาจากวัดมหาธาตุ สมัยรัชกาลที่ ๓) สิ่งเหล่านี้เป็นของเดิมของอยุธยา มิได้เอามาแต่ไหน ถ้าไปดูพระพุทธรูปทวารวดีที่วัดหน้าพระเมรุ จะพบว่าเป็นพระพุทธรูปแบบสลักนูนสูง (high-relief) คนละแบบกับที่นครปฐม แม้จะมีขนาดใหญ่เท่ากันก็ตาม

เรื่องขนาดนี้เป็นเรื่องแปลก ได้พบฐานบัวที่รองพระบาทพระนั่งห้อยพระบาทที่อยุธยา นครปฐม กับที่เมืองเสมา อำเภอสูงเนิน โคราชจำนวนมากมาย ล้วนเป็นขนาดเดียวกันทั้งสิ้น บ่งถึงอิทธิพลของศิลปะร่วมสมัยโดยแท้ แต่มิใช่เป็นนครเดียวกันอย่างแน่นอน การที่เจ้าหน้าที่เอาพระศิลาสีขาวมาต่อเติมโดยเก็บเศษมาจากที่อื่นจนครบองค์ ก็เพราะขนาดเท่ากันนั่นเอง แต่ต่อแล้วยังเหลืออีกแยะ เขาไม่พูดถึง เพราะถ้าพูดก็ต้องบ่งว่าเป็นของคนละที่กัน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องตลกทางโบราณคดีอย่างหนึ่ง...'

อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ ได้เขียนกล่าวถึงคตินิยมซึ่งเอาพระเก่าเป็นศิลามาปะติดปะต่อจนครบองค์ แล้วซ่อมปฏิสังขรณ์จนบริบูรณ์นี้ มีแจ้งอยู่ในศิลาจารึกหลักที่สอง หรือจารึกวัดศรีชุม ซึ่งกล่าวถึงสมเด็จเจ้าศรีศรัทธาราชจุฬามุนี ได้ทำการกุศลปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ทั่วเมืองไทย และเข้าไปปฏิสังขรณ์วัดสลักหักพังในป่าดง ทั้งยังเข้าไปปฏิสังขรณ์พระมหาธาตุหลวงอันสูงถึงเก้าสิบห้าวา แล้วก่อทับปฏิสังขรณ์ใหม่สูงถึงร้อยสองวา ขอมเรียกว่า พระธม ซึ่งสถิตย์กึ่งกลางนครพระกฤษณ์

'…พระธมก็คือ พระประธม ซึ่งคนไทยก็เรียกเช่นนี้ นครพระกฤษณ์ ก็คือนครทวารวดีนั่นเอง พระมหาธาตุซึ่งเจ้าศรีศรัทธาราชจุฬามุนีไปปฏิสังขรณ์ก็คือ องค์พระปฐมเจดีย์ ซึ่งเรียกว่า พระประธม การนั้นทำงานกลางป่า ยากลำบากหาปูนไม่ได้ แต่ภายหลังก็สามารถหาได้จำนวนมากด้วยปาฏิหาริย์...'

จารึกหลักที่สอง หรือจารึกวัดศรีชุม อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ ได้บอกไว้ชัดเจนว่า การบูรณะปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปเป็นประเพณีที่นิยมทำกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว

'...เมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นบนเกาะอันมีเมืองเก่าแก่ซับซ้อนกันมานานตั้งแต่ยุคร่วมสมัยกับทวารวดีกับสมัยอโยธยา แล้วรกร้างอีกจวบจนสมัยกรุงศรีอยุธยา พอสถาปนาเมืองใหม่ก็รวบรวมเอาพระศิลามาติดต่อเป็นองค์เอามาประดิษฐานไว้ที่วิหารต่างๆ จำนวนมาก และก็คงทำกันเรื่อยมา คือเมื่อแสวงหาพระศิลาเก่าแก่มาได้ ก็เอามาต่อแล้วปั้นปูนปฏิสังขรณ์ให้บริบูรณ์ไว้ 

 

พระพุทธรูปทวารวดีขนาดใหญ่สลักนูนสูง (high-relief)

ที่วัดหน้าพระเมรุ