ประกอบไปด้วย ๑) ความงามภายนอก คือความงามของรูปธรรม อาทิ ความงามของรูป ความงามของวัตถุต่างๆ ๒) ความงามภายใน คือความงามที่เกี่ยวกับเรื่องนามธรรม อาทิ ความงามของจิตใจที่ประกอบด้วยกุศลธรรมต่างๆ อีกประการหนึ่งพุทธปรัชญาเถรวาทให้พิจารณาคุณค่าของความงามเป็น ๒ ลักษณะ คือคุณค่าเทียม หมายถึงคุณค่าของความงามอันเกี่ยวข้องกับตัณหาหรือสนองตัณหา ส่วนคุณค่าแท้หมายถึงคุณค่าของความงามที่เกี่ยวข้องกับปัญญาหรือสนองปัญญา
การสร้างพระพุทธรูปตั้งแต่สมัยอินเดียจนถึงปัจจุบัน ก็ต้องมีเกณฑ์การสร้างให้ถูกต้องตามมหาปุริส-ลักษณะ ๓๒ ประการของพระพุทธเจ้าด้วย การสร้างพระพุทธรูปต้องมีทฤษฎีการควบคุมทฤษฎีที่สำคัญที่จะนำเสนอ ได้แก่ ทฤษฎีภังคะ มุทรา เป็นต้น ส่วนพระพุทธรูปในสมัยอยุธยาที่มีพุทธลักษณะต่างๆ เช่น ทรงเครื่องนั้น พระพักตร์เข้ม เป็นการสะท้อนให้เห็นสภาพสังคม การเมือง วัฒนธรรมในสมัยอยุธยาด้วย
'...สรุปได้ว่า สมัยอู่ทอง-อโยธยานั้น อาณาจักรพระนครศรีอยุธยาเดิมเคยเจริญรุ่งเรืองด้วยพระพุทธ-ศาสนาสมัยทวารวดี มีบริเวณกว้างขวางครอบคลุมหลายจังหวัด มีหลักฐานมากมายที่จังหวัดนครปฐม ศิลาจารึกเป็นอักษรมอญ ต่อมาได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนามหายานเมืองลพบุรีจึงเกิดศิลปะอู่ทองหรืออโยธยา ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของขอมในอดีต ต่อมาก็ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์จากเมืองสุโขทัยมาผสมผสานเกิดเป็นพุทธศิลป์ที่มีลักษณะหลากหลาย มีพุทธลักษณะที่งดงามยิ่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น (ยุคพระพุทธรูปคลาสสิกสมัยอยุธยา) อาณาจักรอโยธยา จึงปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีมากมาย โดยเฉพาะพระพุทธรูปศิลาทราย เป็นต้น เพื่อยืนยันว่าบริเวณของกรุงศรีอยุธยาในอดีตมีความเจริญรุ่งเรืองก่อนหน้ามาหลายร้อยปี...'
อ้างอิง
'กรุงศรีอยุธยาของเรา' โดย อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม
'ศิลปกรรมแห่งอาณาจักรศรีอยุธยา' โดย อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ
'พระพุทธรูปสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา' โดย อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๓ เดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน ปี พ.ศ. ๒๕๒๖
'อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา' กรมศิลปากร
‘ประทีปวิทรรศน์ : รวมเรื่องโบราณคดีอยุธยา’ ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ โดย นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๙ / เรื่องที่ ๒ พระพุทธรูป / ประเภท วัสดุ และเทคนิคในการก่อสร้างพระพุทธรูป
'พระพุทธรูปในประเทศไทย' โดย ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิทยานิพนธ์ 'การศึกษาวิเคราะห์พุทธศิลป์เชิงสุนทรียศาสตร์ (กรณีเฉพาะพระพุทธรูปสมัยอยุธยา)' ผู้วิจัย พระมหาอุดม ปญฺญาโภ (อรรถศาสตร์ศรี) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ปี พ.ศ.๒๕๔๗
คำสำคัญ :