ผู้เข้าชม
0
25 กรกฎาคม 2567

มโหระทึกแบบเฮเกอร์ I พบที่เขาสามแก้ว อำเภอเมืองฯ จังหวัดชุมพร เป็นหนึ่งในมโหระทึกเฉพาะที่พบที่เขาสามแก้ว ซึ่งพบราว ๗ ใบ

โดยมีขนาดย่อมๆ ๒ ใบ ถือว่าเป็นแหล่งที่พบมากที่สุดในบริเวณคาบสมุทรและหมู่เกาะ3


 

ซึ่งในศาสนาพุทธแบบวัชรยานและมหายานที่เกิดขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๖-๗ เช่น ในทิเบต จีน และญี่ปุ่นนำระบบสัญลักษณ์เหล่านี้ส่วนหนึ่งปรับไปใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งมงคลทั้งแปดหรือ ‘อัษฏมงคล’ ในภายหลังและปรากฏอยู่ทั่วทุกหนแห่งตามวัดวาอาราม รอยพระบาท บ้านเรือน และปราสาทราชวัง โดยเชื่อกันว่า สัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๘  เป็นตัวแทนของพระวรกายของพระพุทธเจ้า อันได้แก่ ‘สังข์’ [Conch Shell] สัญลักษณ์ของพระวจนะคือคำกล่าว ดอกบัว’ [Lotus] สัญลักษณ์แห่งการบรรลุธรรมขั้นสูงสุดคือการหลุดพ้นคือพระชิวหา ธรรมจักร’ [Wheel] คือการแสดงธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าคือพระบาท ฉัตร’ [Paraso] สัญลักษณ์แห่งการปกปักรักษาและเป็นเครื่องหมายของราชามหาษัตริย์ด้วยคือพระเศียร เงื่อนอนันตภาคย์หรือเงื่อนมงคล’ [Endless Knot] คือสัญลักษณ์ของความรู้แจ้งอันไม่มีที่สิ้นสุดคือพุทธสติ ปลาทองคู่’ [Golden Fishes] เปรียบเสมือนพระจันทร์และพระอาทิตย์ของร่างกายมนุษย์ที่ก่อกำเนิดขึ้นในโพรงจมูกทำให้เกิดจังหวะการหายใจเข้าและออกที่เรียกว่า ‘ปราณ’ คือพระเนตรทั้งสองข้าง ธงแห่งชัยชนะ’ [Victory Banner] สัญลักษณ์แห่งการรู้แจ้งคือ พระวรกาย และ แจกันแห่งโภคทรัพย์’ [Treasure Vase] เปรียบเสมือนความสมบูรณ์พร้อมทางด้านจิตวิญญาณคือ พระศอ  ต่อมามีการพัฒนามาเป็นมงคล ๑๐๘ ประการ ที่มักปรากฏในรอยพระพุทธบาท เดินทางมาพร้อมกับพ่อค้าและนักเดินทางจากศูนย์กลางทางความเชื่อในเมืองท่าทางพุทธศาสนา ระบบสัญลักษณ์เหล่านี้ถูกผลิตขึ้นที่คาบสมุทรสยามเพื่อส่งออกเป็นสินค้าในดินแดนที่รับพุทธศาสนาด้วย

หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญอีกประการคือ การพบหลักฐานเป็น มโหระทึกแบบเฮเกอร์ I ไม่ต่ำกว่า ๕-๖ ใบ แต่ละใบมีขนาดใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลางหน้ากลองเกือบ ๗๐ เซนติเมตร (หากมีขนาดเกินกว่า ๗๐ เซนติเมตรถือว่ามีขนาดใหญ่) ยกเว้นมีขนาดย่อมๆ ๒ ใบ พบในบริเวณเขาสามแก้วทั้งบนยอดเขาที่สูงที่สุด ยอดเขาแรกๆ ที่ความสูงไม่ต่างจากระดับชายตลิ่งมากนัก และบริเวณที่ราบชายตลิ่งที่ถูกขุดทรายและหน้าดินไปหมดแล้วในปัจจุบัน เป็นต้น อายุโดยเฉลี่ยคือพุทธศตวรรษที่ ๑-๕  

ซึ่งคณะทำงานของศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์แห่งชาติฝรั่งเศส [CNRS], สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ [EFEO] ขุดค้นเบื้องต้นที่เขาเสก และมีการวิเคราะห์ข้อมูลโบราณคดีจากการตรวจสัดส่วนของโลหะทองแดง [Copper-base archaeometallurgical data] ซึ่งพวกเขาวิเคราะห์ว่า มีการเลียนแบบทำกลองมโหระทึกด้วยลวดลายที่คล้ายคลึงกับมโหระทึกจากเวียดนามตอนเหนือในวัฒนธรรมดองซอนและอาจมีการผลิตเลียนแบบโดยการนำแร่ทองแดงจากการตรวจไอโซโทปของแร่ทองแดงระบุว่าน่าจะนำมาจากแหล่งเหมืองทองแดงเซโปน ใน สวันนะเขต ตอนกลางของประเทศลาว  จึงยืนยันไม่ได้แน่ว่ามีการติดต่อโดยตรงกับทางชุมชนผู้คนในวัฒนธรรมดองซอนหรือไม่ หรือกลองใบนี้มีการผลิตขึ้นที่ใด [Thomas Oliver Pryce, Bérénice Bellina. High-tin bronze bowls and copper drums: Non-ferrous archaeometallurgical evidence for Khao Sek's involvement and role in regional exchange systems, 2017]

อนึ่ง มโหระทึกแบบเฮเกอร์ I ที่พบในกลุ่มอาณาบริเวณคอคอดกระนี้ยังมีรายงานว่าพบที่ เขาเสก ในอำเภอหลังสวน บ้านปังหวานที่อำเภอพะโต๊ะ บ้านในหยานที่อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร และทางภูเขาทอง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนองอีกด้วย