ผู้เข้าชม
0
10 กรกฎาคม 2567

ในครั้งนี้ ‘เดอ ลาชงกิแยร์’ ถือเป็นนักสำรวจชาวฝรั่งเศสคนแรกที่เริ่มสำรวจพื้นที่เชิงเขาสระบาปอย่างละเอียดและทำแผนผังบันทึกเท่าที่ข้อจำกัดเรื่องเวลาจะทำได้ โดยเริ่มงานสำรวจและทำแผนผังในจันทบุรี ‘ตั้งแต่ ๒๙ เมษายน-๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๑’ เขาบันทึกในรายงานสรุปไว้ว่า ‘บาทหลวงฟรังซัว ชมิทต์’ เข้ามาสำรวจพบ ‘จารึกเพนียด ๑’ นี้ที่วัดกลาง และสันนิษฐานว่าอาจจะมาจากแถบเขาสระบาป โดยบาทหลวงชมิทต์ส่งสำเนาไปให้ ‘เอมอนิเยร์’ อ่าน ซึ่งกรณีนี้เป็นส่วนหนึ่งในภารกิจของ ‘ม.ปาวี’ อันเป็นช่วงเวลาก่อนที่ฝรั่งเศสจะยึดเมืองจันทบุรีที่ศูนย์กลางการปกครองเป็นประกันให้สยามจ่ายค่าเสียหายจากกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส ร.ศ. ๑๑๒ หรือ พ.ศ. ๒๔๓๖ โดยการอ้างถึงข้อมูลของเอมอนิเยร์ และกล่าวว่าจารึกที่เพนียดนั้นพบว่าอยู่ที่ในบริเวณที่ว่าการ ‘มณฑล’ ซึ่งช่วงเวลาที่ ‘เดอ ลาจงกิแยร์’ เข้ามาสำรวจนั้น

ฝรั่งเศสยึดบริเวณที่มีคันดินรูปสี่เหลี่ยมเกือบจัตุรัสกลางเมืองเก่าจันทบุรี [Citadel] ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของจวนเจ้าเมืองจันทบุรีแต่ดั้งเดิม ต่อมาสร้างตึกที่ทำการอีกหลายหลังแบบโคโรเนียล ปัจจุบันคือกลุ่มตึกฝรั่งเศสในเขตตัวเมืองจันทบุรีเก่าในกองพลนาวิกโยธินค่ายตากสิน และช่วงถอนตัวออกไปแล้วรัฐบาลสยามยังคงใช้พื้นที่ตัวตึกอาคารต่างๆ ที่ฝรั่งเศสสร้างไว้เป็นที่ทำการมณฑลที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นภายหลังจากฝรั่งเศสถอนกองทหารไปแล้ว บริเวณนี้จึงเป็นที่เก็บโบราณวัตถุจำนวนหนึ่งดังที่บาทหลวงชมิทต์ไปเก็บมาจากแถบเจดีย์วัดกลางที่อยู่ไม่ไกลนัก   

เดอ ลา ชงกิแยร์ เข้าไปสำรวจแถบคลองนารายณ์หลังจากสอบถามข้อมูลคนท้องถิ่นและบาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่อยู่จันทบุรีมาอย่างยาวนานก็ไม่มีใครให้ข้อมูลเรื่องโบราณสถานแบบปราสาทหินที่เชิงเขาสระบาปได้ เขาพบเนินโบราณสถานและชิ้นส่วนครึ่งด้านขวารูปมกรตรงกลางอาจจะเป็นครุฑ ส่วนด้านบนเห็นว่าหายไป ภาพสลักบนแท่นหินรูปหญิงห้าคนถือดอกบัวและพัดใบตาล และชิ้นส่วนกรอบประตู เมื่อไปสำรวจที่เพนียด เขากล่าวว่าศิลาแลงจากที่นี่ถูกขนไปสร้าง ท่าเรือจันทบุรี และทำเป็นรากฐานอาคารโบสถ์เจดีย์ 

การทำท่าเรือจันทบุรีและการสร้างและซ่อมบูรณะวัดวาอารามต่างๆ ในจันทบุรีนั้นซึ่งใช้เป็นสถานที่ต่อเรือรบและเรือต่างๆ เพื่อสนับสนุนการรับศึกญวนในครั้งการเตรียมรับศึกระหว่างสยามและอันนัมหรือฝ่ายญวน ระหว่างช่วง .. ๒๓๗๖-๒๓๙๐ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณท่าแฉลบในปัจจุบัน๑๓

แต่ชาวบ้านท้องถิ่นเล่ากันต่อมาว่า มีการก่อสร้างศาสนสถานที่ริมแม่น้ำจันทบุรีในเขตตำบลพุงทะลายหรือตำบลจันทนิมิต ชาวบ้านกล่าวว่าชาวฝรั่งเศสให้ชาวบ้านทองทั่วขนศิลาแลงดังกล่าวใส่เกวียนไปถมพื้นที่ลุ่มบริเวณนั้น แต่เมื่อพิจารณาข้อมูลของ ‘เดอ ลาชงกิแยร์’ แล้ว อาจจะเป็นการขนศิลาแลงไปใช้ในช่วงการสร้างท่าเรือจันทบุรีที่ท่าแฉลบและการก่อสร้างเมืองใหม่ที่เนินวงในครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกด้วย

แผนผังที่ ‘เดอ ลาชงกิแยร์’ กล่าวถึงสิ่งก่อสร้าง ๓ กลุ่ม กลุ่ม A สูงราว ๕๐ เมตร กว้าง ๑๐ เมตร

ส่วนด้านนอกที่เชื่อมต่อแนวด้านตะวันออก-ตะวันตก มีขนาดราว ๗๐ เมตร และแนวเหนือ-ใต้ราว ๓๕ เมตร

อาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ เขาสันนิษฐานว่าเป็นอาคารพระราชวังของเมือง เป็นแนวระเบียงที่ต่อกับ

หอเปลื้องเครื่อง ส่วนทางทิศใต้ห่างไปราว ๑๐๐ เมตร อาจเป็นศาสนสถานขนาดเล็กๆ ฐานทำจากศิลาแลง

ที่มา: Le domaine archéologique du Siam, 1909



ซึ่งมีบันทึกโดยละเอียดในเอกสารของหมอบรัดเลย์ และถ้าจะขนไปที่ตำบลพุงทะลาย ก็มีการสร้างเจดีย์ขนาดย่อมที่เขาน้อยซึ่งมีการใช้ก้อนศิลาแลงขนาดใหญ่และเป็นจุดหมายสำคัญของเมืองที่อยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับเมืองจันทบุรีเก่า แต่พื้นที่ริมน้ำในปัจจุบันกลายเป็นเขื่อนริมน้ำของอาคารและโรงแรมสร้างใหม่ในบริเวณติดกับเจดีย์เขาน้อย ส่วนพื้นที่โดยรอบนั้นล้อมรอบด้วยที่ลุ่มต่ำ ยกเว้นเขามอบริเวณรอบเขาน้อยนี้เท่านั้น