ผู้เข้าชม
0
8 กรกฎาคม 2567

+ ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ บริษัทได้เปลี่ยนอีกครั้งเป็นบริษัท ไฟฟ้าไทย คอปอเรชัน จำกัด 

+ ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ สัมปทานการเดินรถก็ได้สิ้นสุดลง รัฐบาลก็เข้ามาดำเนินกิจการต่อในนามของบริษัท การไฟฟ้ากรุงเทพฯ จำกัด ในสังกัดของกรมโยธาเทศบาลและกระทรวงมหาดไทย 

+ ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เริ่มมีนโยบายยกเลิกกิจการรถราง เริ่มจากการหยุดให้บริการทีละสาย 

+ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ กรมโยธาเทศบาลและกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งยกเลิกการเดินรถรางทุกสายอย่างถาวร เป็นอันสิ้นสุดกิจการรถ-รางในประเทศไทย 

นอกจากรถรางในเมืองหลวงแล้ว ยังมีรถรางสายชานเมืองวิ่งไปยังปากน้ำด้วย ซึ่งได้ยกเลิกไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ นอกจากนั้น การไฟฟ้านครหลวงก็ได้เปิดบริการรถรางที่เมืองลพบุรีด้วย เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ มีระยะทาง ๕.๗๕ กม. โดยใช้ตู้รถรางเก่าจากบางกอก รถรางเมืองลพบุรีนี้ ดำเนินการอยู่เพียง ๗ ปีก็ถูกยกเลิกในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ในเวลานั้นรัฐบาลได้มีความพยายามที่จะเปิดดำเนินกิจการรถรางไฟฟ้าในจังหวัดอื่นด้วย เช่น เชียงใหม่ โคราชหรือนครราชสีมา และสงขลา แต่ก็ไม่ปรากฏผลสำเร็จ

สำหรับรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ของรถราง ในบทความ 'ประวัติศาสตร์การขนส่งมวลชนทางบก: สายรถรางย่านบางลำพู' โดย พิพิธบางลำพู กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ได้ให้ข้อมูลถึงลักษณะของรถรางว่า

‘ …รถรางทุกสายเป็นแบบรางเดี่ยว โดยมีทางหลีกในระยะช่วง ๑/๔ ไมล์ รางมีขนาดกว้าง ๑ เมตร และรางรถส่วนมากยังอยู่ในพื้นถนนลาดยาง มีบางช่วงเท่านั้นที่ฝังอยู่บนถนนคอนกรีต และได้มีการให้สิทธิให้รถรางที่วิ่งทางขวาไปก่อน  

รถรางในสมัยนั้นมีการแบ่งชั้นบริการเป็นรถรางชั้น ๑ และชั้น ๒ มีฉากลูกกรงไม้แบ่งครึ่งกลางคัน โดยรถรางชั้น ๒ จะไม่มีเบาะรอง มีเพียงม้านั่งแข็งๆ แต่หากอยากนั่งสบายมีเบาะนุ่มๆ ก็ต้องเลือกนั่งรถรางชั้น ๑ โดยต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว หน้าตาของรถรางนั้นก็คล้ายกับโบกี้รถไฟ แต่มีความยาวน้อยกว่า โดยสามารถแบ่งได้เป็น ๒ รูปแบบ คือ แบบเปิดโล่ง และแบบมีกระจกปิด

โบกี้แบบเปิดโล่ง ตัวถังทำด้วยไม้ กั้นเป็นซี่ตามยาว มีผ้าใบใช้กันฝนและฝุ่น เมื่อไม่ใช้งานก็สามารถม้วนผ้าเก็บไว้ตามแนวชายคาได้แบบตัวถังทึบ โดยตัวตู้จะมีหน้าต่างปิดกันฝน ตัวถังทำด้วยเหล็ก มีหลังคาโค้ง ถือว่าทันสมัยมากในสมัยนั้น โดยสีของรถรางส่วนใหญ่ มีลักษณะ ๒ สีคู่กัน ทุกโบกี้จะมีทางขึ้น ๒ ทาง ตัวถังรถรางส่วนมากผลิตในไทย จะมีก็เพียง ๕ โบกี้ที่ส่งมาจากอังกฤษ

สีของรถรางส่วนใหญ่มี ๔ แบบซึ่งประกอบด้วย ๒ สีคู่กันคือ เหลืองกับน้ำตาล เหลืองกับเขียว เหลืองกับแดง และดำกับเขียวอ่อน แตกต่างกันไปตามเส้นทางและตามบริษัทเจ้าของเส้นทาง มีจำนวนตู้รถรางทั้งหมดรวม ๕๔ โบกี้ มีที่นั่งขนานตามทางยาวกับตัวตู้ ๒๖ ที่นั่ง มีที่ว่างตรงกลางให้ผู้โดยสารยืนได้ ๓๔ คน สามารถจุคนได้ทั้งสิ้นรวม ๖๐ คน แต่ละคันมีกำลังขับ ๔๐ แรงม้า ตัวถังรถรางส่วนมากผลิตในไทย 

 

ภาพรถรางสายดุสิต บนถนนพระสุเมรุ ด้านซ้ายคือร้านเสื้อนพรัตน์

ในสมัยนั้นมีการแบ่งชั้นบริการเป็นรถรางชั้น ๑ และชั้น ๒ มีฉากลูกกรงไม้แบ่งครึ่งกลางคัน 

ที่มา: Raymond DeGroote (25 เมษายน 2509). อ้างถึงในเว็บไซต์พิพิธบางลำพู


 

มีท่ารถรางอยู่ ๔ แห่งคือ ที่สะพานดำ สะพานเหลือง บางกระบือและบางคอแหลม โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ถนนท่าช้าง และมีโรงจอดรถรางข้างในเป็นโรงซ่อมในตัว อยู่บริเวณหลังโรงประปา สี่แยกแม้นศรี 

ส่วนป้ายหยุดรถมีลักษณะคล้ายธง มี ๒ สี คือ ธงสามเหลี่ยมสีแดงมีดาวตรงกลางคือจุดจอด ขึ้นลงและรับผู้โดยสาร ส่วนธงสามเหลี่ยม สีเขียวมีดาวตรงกลางคือป้ายแสดงจุดให้รถรางรอหลีกขบวนกัน ส. พลายน้อย (สมบัติ พลายน้อย นักเขียนสารคดีศิลปินแห่งชาติ อธิบายเรื่อง ‘ธงแดงของรถราง’ ไว้ว่า สมัยที่กรุงเทพฯ ยังมีรถรางไฟฟ้าวิ่งในถนน คือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ลงมาจนถึงต้นยุคทศวรรษที่ ๒๕๑๐ เคยใช้ธงสามเหลี่ยมแผ่นใหญ่ ทำด้วยเหล็กเคลือบ พื้นสีแดง มีดาวสีขาวตรงกลาง ติดตั้งไว้สูงๆ ตามที่ต่างๆ เพื่อเป็นสัญญาณบอกตำแหน่งที่หยุดรถให้คนขึ้นลง ถ้าเทียบกับรถประจำทางสมัยนี้ก็คือ ป้ายรถเมล์ หรือเรียกกันย่อๆ ว่า ป้าย