ผู้เข้าชม
0
8 กรกฎาคม 2567

ในช่วงแรก ค่าโดยสารรถรางคิดเป็นระยะละ ๖ สตางค์ แต่ก็ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ค่าบูรณะซ่อมแซม และค่าจ้างต่าง ๆ ในกิจการรถราง ทำให้บริษัทดังกล่าวโอนสัมปทานให้แก่บริษัท รถรางกรุงเทพฯ จำกัด (The Bangkok Tramway Co., Ltd) ของชาวอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๒ แต่สุดท้ายก็ต้องปิดกิจการลงในอีก ๓ ปีต่อมา เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ปี พ.ศ. ๒๔๓๕ เป็นอันว่าสิ้นสุดกิจการรถรางที่ใช้ม้าลากของประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัทชาวเดนมาร์กเดิม นำโดยนายอ๊อก เวสเตนโฮลซ์ ได้เข้ามารับช่วงสัมปทานต่อ และได้ขยายกิจการจากรถรางที่ใช้ม้าลาก เป็นรถรางไฟฟ้า ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๗ เป็นต้นมา นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์การขนส่งมวลชนด้วยระบบรถรางครั้งสำคัญ จนกระทั่งพัฒนาต่อยอดกิจการรถรางต่อเนื่องหลายยุคหลายสมัย

โดยเฉพาะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ กิจการรถรางไฟฟ้าขยายตัวสูงสุด ระบบเส้นทางรถรางไฟฟ้ากรุงเทพฯ (The Bangkok electric tramway system) ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ และเปิดบริการเป็นระยะทางรวมทั้งหมด ๔๘.๗ กิโลเมตร มีรถรางบริการจำนวน ๒๐๖ คัน มีสายรถรางวิ่งบนท้องถนนในกรุงเทพมหานครถึง ๑๑ สาย ได้แก่ 

     ๑. สายบางคอแหลม           ๒. สายสามเสน 

     ๓. สายดุสิต (รอบเมือง)      ๔. สายบางซื่อ 

     ๕. สายหัวลำโพง                ๖. สายสีลม 

     ๗. สายปทุมวัน                  ๘. สายสุโขทัย (วังสุโขทัย) 

     ๙. สายยศเส (ประตูน้ำ)      ๑๐. สายอัษฎางค์ 

     ๑๑. สายราชวงศ์ 

 

ภาพตั๋วรถรางสายบางคอแหลม สายสามเสน และสายดุสิต

ที่มา: Dick van der Spek, Wisarut Bholsithi, and Wally Higgins, 42 - 42.

อ้างถึงในเว็บไซต์พิพิธบางลำพู