ผู้เข้าชม
0
8 กรกฎาคม 2567

รถรางสายสามเสนในอดีต บริเวณหน้าวัดชนะสงคราม

ที่มา: Dick van der Spek, Wisarut Bholsithi, and Wally Higgins, 1. 

อ้างถึงในเว็บไซต์พิพิธบางลำพู 


 

ความเจริญทางเทคโนโลยีและการคมนาคมในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ การสร้างถนนเจริญกรุงเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๔ และเปิดให้คนใช้สัญจรไปมาตั้งแต่วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๗ ปรากฏว่าถนนสายนี้มีคนสัญจรไปมากันมากเพราะเป็นถนนสายยาวที่มี และถนนสายนี้เชื่อมระหว่างท่าเรือถนนตกกับในเมือง หรือในเขตที่เจริญแล้ว 

จากจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๔ ว่าด้วยเรื่องธรรมเนียมพระราชวังพระเจ้าแผ่นดินของหอวชิรญาณ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๖ ได้บันทึกถึงความสำคัญตรงนี้มีความว่า

"พระราชวังพระเจ้าแผ่นดินตั้งอยู่ในที่ใดถนนใหญ่ย่อมสร้างไว้เป็นเครื่องประดับสำรับพระราชวัง”

รถราง ก็เป็นกุศโลบายในการสร้างประเทศให้ศิวิไลซ์ทางด้านการคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ในช่วงเวลาแห่งความทรงจำ ๘๐ ปี หรือ ๘ ทศวรรษที่รถรางเปิดบริการในอดีต ประเทศไทยมีการใช้รถรางครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ โดยเปิดสายบางคอแหลมเป็นสายแรก เมื่อเริ่มแรกใช้กำลังม้าลากรถไปตามราง ทำให้ใช้เวลาการเดินทางมาก จึงไม่เป็นที่นิยม ภายหลังเปลี่ยนมาใช้กำลังไฟฟ้าเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. ๒๔๓๗ และจนถึงวันที่ ๑ ตุลาคม ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้ยกเลิกการเดินรถทุกเส้นทางอย่างถาวร

ระบบรถรางได้รับการยอมรับอย่างดีในภูมิภาคเอเชียเมื่อต้นศตวรรษที่ ๒๐ แต่เริ่มลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงกลางถึงปลายยุคทศวรรษที่ ๒๔๗๐ และในยุคทศวรรษที่ ๒๕๑๐ เป็นจุดสิ้นสุดของการขนส่งสาธารณะโดยปิดระบบหลักส่วนใหญ่ และอุปกรณ์และรางขายเป็นเศษเหล็ก 

ประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ เป็นปีที่ ๑๐๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ ๒๑ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หากนับเป็นจุลศักราช เป็นปี จ.ศ. ๑๒๔๙ (๑ มกราคม – ๑๒ มีนาคม) และปี จ.ศ. ๑๒๕๐ (๑๓ มีนาคม – ๓๑ ธันวาคม) ในแบบปัจจุบัน ในช่วงเวลานั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ดำรงพระอิสริยยศสยามมกุฎราชกุมาร โดยมีสมุหนายกคือ เจ้าพระยารัตนบดินทร์ สมุหพระกลาโหมคือ เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (จนถึง ๓๐ ตุลาคม) และเจ้าพระยาพลเทพ (ตั้งแต่ ๓๐ ตุลาคม) ในปีนั้น วันที่ ๒๖ เมษายน โรงพยาบาลศิริราชเปิดให้บริการวันแรก วันที่ ๒๒ ธันวาคม สยามเสียเมืองสิบสองจุไทและหัวพันห้าทั้งหกให้กับฝรั่งเศส 

หนังสือ ‘ประวัติและผลงานของชาวต่างชาติในประเทศไทย’ ของกรมศิลปากร โดย นันทนา วรเวติวงศ์ ให้ข้อมูลถึงรถรางประเทศไทยว่า ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ โดยคณะบุคคลชาวต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินกิจการการคมนาคมนี้ในสยามคือ กัปตันลอฟตัส (Captain Alfred John Loftus) หรือพระนิเทศชลธี ชาวอังกฤษ กัปตันรีเชอลีเยอ (Andre du Plesis de Richelieu) หรือพระยาชลยุทธโยธินทร์ และนายอ๊อก เวสเตนโฮลซ์ (Aage Westenholz) ชาวเดนมาร์ก ซึ่งร่วมกันก่อตั้งบริษัทและขอพระราชทานพระบรมราชานุ-ญาตจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เพื่อสัมปทานการเดินรถรางในกรุงเทพมหานคร โดยรถรางสายแรกเรียกชื่อว่า สายบางคอแหลม ตั้งต้นจากศาลหลักเมือง วิ่งตามเส้นทางถนนเจริญกรุง แล้วไปสิ้นสุดที่บริษัท อู่เรือกรุงเทพ จำกัด (The Bangkok Dock Co., Ltd) หรือบริเวณถนนตก รถรางในระยะแรกเริ่มนี้ใช้ม้าเทียมแปด หรือม้าสี่คู่ลากไปตามราง

ข้อมูลจากหนังสือ ‘อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพลตรี พระยาอานุภาพไตรภพ (จำรัส เทพหัสดิน ณ อยุธยา)’ เรื่อง พระมหานครกรุงเทพฯ ในความทรงจำของคนอายุ ๗๐ ปี ได้เขียนบันทึกถึงเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้นว่า