ผู้เข้าชม
0
10 กรกฎาคม 2567

แผ่นหินสลักลายบนพื้นผิวเป็นรูปพระพิฆเนศ เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดทองทั่ว (ซ้าย)

และโกลนสิงห์นั่งแบบยุคสมัยเมืองพระนคร ที่ เดอ ลาชงกิแยร์ กล่าวถึงไว้ในการสำรวจว่าพบบริเวณวัดทองทั่ว (ขวา)


ยังมีกรอบประตูและเสาประดับกรอบประตู แท่งหินรูปร่างยาวปลายงอนประดับปราสาทแบบจามที่ได้มาจากวัดเพนียด (ร้าง) ๒ ชิ้น, พระคเณศหินแกะเป็นลายเส้นลงบนแผ่นทราย, โกลนสิงห์นั่งนำไปประดับอยู่ที่หน้าโบสถ์วัดทองทั่ว เหลือเพียงตัวเดียวจากความทรงจำของชาวบ้านที่กล่าวว่ามี ๒ ตัว  สิงห์อีก ๒ ตัวน่าจะมาจากบริเวณใกล้เคียงนี้ถูกนำไปไว้ที่ ‘วัดกลาง’ ในเมืองจันทบุรี ก่อนจะถูกนำไปไว้ที่โรงเรียนชายประจำมณฑลจันทบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ ซึ่งคือโรงเรียนเบญจมราชูทิศในปัจจุบันซึ่งอยู่ในพื้นที่ด้านหลังของวัดกลางนั่นเอง เป็นสิงห์รูปแบบยุคสมัยเมืองพระนครไปแล้วคือหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ไปแล้ว ซึ่งเคยอยู่ในบริเวณเดียวกับวัดโบสถ์เมืองและวัดบน 

และที่เนินโบราณสถานใกล้กับวัดทองทั่ว พบร่องรอยแนวศิลาแลง ไม่มีซากอาคารโบราณสถาน พบหลักฐานอื่นๆ ในบริเวณนี้ เช่น แผ่นหินทรายขนาดราว ๑ เมตร กว้างประมาณ ๓๐-๔๐ เซนติเมตร คล้ายกับที่พบบริเวณวัดเพนียด (ร้าง), ชิ้นส่วนประกอบสถาปัตยกรรมต่างๆ มีทั้งเป็นแผ่นหินและแบบสลักลวดลาย, แท่งศิลาแลงที่อาจจะเป็นส่วนเสา, ชิ้นส่วนประติมากรรมทำจากหินทรายแดง