แผ่นหินสลักภาพเล่าเรื่องบุคคลนั่งบนแท่น ๕ คน ถือดอกไม้ นุ่งผ้าสั้นจีบริ้ว นั่งอยู่หน้าอาคารที่มุงหลังคาเป็นรูปกระเบื้องกาบกล้วย เชิงชายสลักเป็นรูปกลีบบัว ซึ่งเป็นชุดที่ได้มาจากที่ทำการณฑลเทศาภิบาลในยุครัชกาลที่ ๕ เช่นกัน ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ซึ่งโบราณวัตถุที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งซึ่งนำไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปราจีนบุรีเช่นเดียวกันคือ ‘เศียรพระหริหระ’ ซึ่งหมายถึงการอวตารรวมกันของพระศิวะและพระวิษณุในศิลปะแบบพนมดา ซึ่งต้นแบบอยู่ทางใต้ของพนมเปญตามลำน้ำบาสัคใกล้กับอังกอร์บอเรยในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ ซึ่งนับว่าเป็นช่วงเวลาร่วมสมัยกับการปรากฏของพระหริหระในอินเดียตอนเหนือ นอกจากนั้นเป็นส่วนต่างๆ ของศาสนสถาน เช่น แท่งหินปลายงอน ที่น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของศาสนสถานแบบปราสาทจาม โดยแบ่งไปเก็บรักษาไว้ทั้งที่วัดทองทั่วเป็นส่วนใหญ่
ภาพถ่ายชิ้นส่วนแผ่นสลักเรื่องราวที่มีสตรี ๕ คน และอาคารที่เห็นหน้าจั่วและเห็นการใช้กระเบื้องกาบกล้วยมุงหลังคาชัดเจน
โดยนำไปเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดวชิรญาณในคราวเดียวกันกับแผ่นหินแบบถาลาบริวัตร ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี