ผู้เข้าชม
0
25 พฤศจิกายน 2565

นอกจากนี้ที่น่าสนใจคือโกเมนรูปตรีรัตนะสีสวยเนียนและรูปทรงชัดเจนด้วยช่างฝีมือเจียระไนชั้นสูง ซึ่งพบที่ตักศิลาเช่นเดียวกัน (ที่สถูปธรรมมหาราชิกา Dharmarajika Stupa)

คาร์นีเลียนหุงสองสีคือขาวและแดงในชิ้นเดียวและต่างชิ้นกันเหล่านี้ปรากฎพบที่เขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร ทำเป็นรูปดอกไม้ชิ้นเดียวมี กลีบ และกลีบดอกชิ้นเดียวที่ประกอบเป็นกลุ่มได้ เช่นเดียวกับที่พบในสถูกปอราห์วา ถือว่าผลิตโดยช่างฝีมือชั้นเยี่ยม

นอกจากพระบรมสารีริกธาตุจากปริปาห์วาและเครื่องประดับที่เป็นพุทธบูชาบางส่วนจะถูกนำมาประดิษฐานไว้ในประเทศสยามในครั้งรัชกาลที่ ๕ แล้ว ทุกวันนี้มีการศึกษาและค้นพบและตระหนักว่า บ้านเมืองของเราเป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับจากหินกึ่งรัตนชาติที่สำคัญ เพื่อใช้เป็นพุทธบูชาในอนุทวีปเองหรืออุทิศให้กับชนชั้นสูงตามความเชื่อหลังความตายของผู้คนที่อาจจะไม่ได้นับถือพุทธศาสนาในครั้งนั้น เช่นที่พบในหลุมศพสุสานสมัยราชวงศ์ฮั่น Huangnigang tomb M1, เมืองเหอผู่ มณฑลกวางสี อายุในราว ๑๐๐ B.C.– ๑๐๐ A.D. ซึ่งสิ่งของที่พบจำพวกเครื่องประดับจากหินกึ่งรัตนชาติที่พบทั้งประเภทและรูปลักษณ์จนถึงฝีมือช่างชั้นสูงมีความคล้ายคลึงกับแหล่งผลิตลูกปัดที่พบในแถบคอคอดกระของประเทศไทยอย่างยิ่ง

ยังไม่มีความชัดเจนหรือสามารถอธิบายถึงรายละเอียดในการเป็นแหล่งผลิตงานฝีมือชั้นสูงที่ช่างฝีมืออันน่าจะมีต้นกำเนิดจากอินเดีย เลือกพื้นที่ ‘บริเวณคอคอดกระ’ เพื่อใช้ผลิตและกระจายงานช่างชั้นเยี่ยมเหล่านี้ด้วยเหตุใดหรือมีข้อมูลสนับสนุนใดบ้างในการกล่าวถึงความสำคัญของพื้นที่นี้อย่างชัดแจ้งมากไปกว่าสิ่งที่ค้นพบแล้วนี้

ไม่มีสิ่งใดจะแจ้งชัดเท่ากับการเริ่มปฎิบัติการศึกษาอย่างจริงจัง โดยจบประเด็นข้อถกเถียงที่มีมานานนับศตวรรษถึง ความเป็นพื้นที่ ‘สุวรรณภูมิ’ ตามคัมภีร์มหาวงศ์ที่เขียนขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๐ โดยถูกปฏิเสธความน่าเชื่อถือและมองเห็นภาพสุวรรณภูมิว่าเป็นเพียงจินตนาการของนักวิชาการท้องถิ่นเท่านั้น

เครื่องประดับรูปกลีบดอกไม้สีเดียวและสองสีในชิ้นเดียว และกลีบดอกไม้ ๕ กลีบทำจากหินคาร์นีเลียน

ในความครอบครองของคุณเนาวรัตน์ สิบพลาง พบที่เขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร

 

กลีบดอกไม้ ๕ กลีบทำจากหินคาร์นีเลียน