ผู้เข้าชม
0
3 กรกฎาคม 2567

การเดินทางสำรวจโบราณสถานในยุคนั้น แม้จะใช้รถจี๊ปเพื่อการเดินทาง แต่โบราณสถาน เช่น ปราสาทพนมรุ้งบนเขาพนมรุ้งนั้นยังเข้าถึงยาก ไม่มีทางรถยนต์ จึงต้องเปลี่ยนมาเป็นใช้ช้างสำหรับเดินทางเข้าไปสำรวจ ถ่ายภาพ ทำแผนผัง แผนที่ รวมทั้งบันทึกเรื่องราวต่างๆ ถือว่าการทำงานทางโบราณคดียุคแรกเริ่มนั้นไม่ใช่การทำงานที่สะดวกสบายและต้องใช้ความมานะอุตสาหะแตกต่างไปจากภาพที่เห็นในปัจจุบันมากทีเดียว...

อีกกรณีที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ทับหลังรูปพระยมทรงกระบือ (นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าเป็นรูปพระอิศวรทรงโคนนทิ) จากปราสาทหนองหงส์ อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ เคยจัดแสดงอยู่ที่ Asian Art Museum ในเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา แต่การรับมอบทับหลังปราสาทหนองหงส์และปราสาทเขาโล้น คืนจากพิพิธภัณฑ์ชอง มุน ลี (Chong-Moon Lee Center for Asian Art and Culture) ประเทศสหรัฐอเมริกา

ทับหลังปราสาทหนองหงส์ จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ โดยนายมานิต วัลลิโภดม ได้กล่าวถึงทับหลังของปราสาทหนองหงส์ทั้ง ๓ ท่อน ไว้ดังนี้

 

ภาพคณะสำรวจจากกรมศิลปากร ขึ้นช้างเพื่อเดินทางไปสำรวจบนเขาพนมรุ้ง

จากระบบฐานข้อมูลภาพศรีศักร-มานิต วัลลิโภดม


๑. ทับหลังปราสาทประธาน (องค์กลาง) สลักเป็นรูปพระอินทร์ประทับยืนบนหลังช้างเอราวัณ ๓ เศียร เหนือหน้ากาล มือหน้ากาลยึดท่อนพวงมาลัยแวดล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษาใบไม้ตั้งขึ้นและตกลง

๒. ทับหลังปราสาทด้านทิศเหนือ สลักเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเหนือหน้ากาล มือหน้ากาลยึดท่อนพวงมาลัยแวดล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษาใบไม้ตั้งขึ้นและตกลง

ทับหลังทั้ง ๒ ชิ้นปัจจุบันไม่ปรากฏหลักฐานว่าอยู่ที่ใด

๓. ทับหลังปราสาทด้านทิศใต้ สลักเป็นรูปพระยมทรงกระบือ ด้านล่างสลักเป็นรูปหน้ากาล มือหน้ากาลยึดท่อนพวงมาลัยแวดล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษาใบไม้ตั้งขึ้นและตกลง 

กรณีทับหลังพระยมทรงกระบือ ปราสาทหนองหงส์ อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงหลักฐานสำคัญที่อาจารย์มานิต วัลลิโภดม ถ่ายภาพปราสาทหนองหงส์ไว้ ขณะนั้นทับหลังยังอยู่ครบ แสดงว่าทับหลังถูกขโมยไปหลังจากนั้น

 

ภาพคณะสำรวจจากกรมศิลปากร ขึ้นช้างเพื่อเดินทางไปสำรวจบนเขาพนมรุ้ง

จากระบบฐานข้อมูลภาพศรีศักร-มานิต วัลลิโภดม