ผู้เข้าชม
0
25 พฤศจิกายน 2565

ยุคต่อมาคือสมัยกุษาณะ พระสถูปได้รับการบูรณะขยายใหญ่จนกระทั่งสูงถึง ๖.๓๕ เมตร พร้อมทั้งทำฐานสี่เหลี่ยม โดยรอบพระสถูปยังมีอารามทิศตะวันออกกว้างใหญ่ ประกอบด้วยลานกลางภายในพร้อมห้องกุฏิเล็กรายรอบกว่า ๓๐ ห้อง มีการสร้างอารามด้านตะวันตก เหนือ และใต้ด้วย ในพระอารามแห่งปิปราห์วาพบตราประทับดินเผายุคกุษาณะมีจารึกอักษรพราหมีอายุราว ๑-๒ A.D. ความว่า ‘Om, Devaputra Vihare, Kapliavastu, Bhikhu, Sanghasที่นี้, วิหารเทวบุตรของคณะสงฆ์แห่งกบิลพัสดุ์จำนวนมาก ยิ่งเป็นการยืนยันว่าที่นี่คือเมืองกบิลพัสดุ์โดยแท้ (อนึ่ง มีการหาค่าอายุจาก C 14 ที่ได้จากยุคแรกอายุราว ๔๑๐ B.C., ๓๗๐ BC. และ ๒๘๐ B.C. ระยะเดียวเท่านั้นที่)

สำหรับการขุดค้นที่กันวาเรีย [Ganwaria] เพื่อตรวจหารูปแบบการอยู่อาศัยจากชั้นดินพบว่าน่าจะมีอยู่ ๔ สมัยคือ ยุคแรก พบเศษภาชนะแบบสีดำสีแดงขัดมัน จานชามแบบขัดมันสีแดง ลูกปัดแก้วและเครื่องประดับกำไลสันนิษฐานว่าอายุราว ๖๐๐-๘๐๐ B.C. ซึ่งอยู่ในช่วงก่อนสมัยของพระพุทธเจ้า, ยุคที่สอง พบเครื่องปั้นดินเผาแบบสีดำขัดมันทางเหนืออย่างชัดเจนและมีรูปแบบภาชนะที่เกี่ยวเนื่องกัน น่าจะอายุราว ๖๐๐-๒๐๐ B.C., ยุคที่สาม สมัยราชวงศ์สุงคะราว ๒๐๐ B.C. - ๑๐๐ A.D. พบเศษภาชนะในุร่นนี้และชิ้นส่วนของตุ๊กตาดินเผาจำนวนมาก, ยุคที่สี่ สมัยราชวงศ์กุษาณะ ราว ๑๐๐ A.D. - ๓๐๐ A.D. พบเศียรพระพุทธรูปและตุ๊กตาดินเผาจำนวนมาก เหรียญแบบ Punched Mark coins ในราชวงศ์กุษาณะ  ลูกปัดดินเผา ลูกปัดหินกึ่งรัตนชาติ ตราประทับดินเผาจำนวนมาก ซึ่งก็สอดคล้องกับช่วงอายุสมัยที่สันนิษฐานได้จากการขุดค้นที่สถูปปิปราห์วา (Srivastava, K.M. Excavations at Piprahwa and Ganwaria, https://indianculture.gov.in/ebooks/excavations-piprahwa-and-ganwaria?fbclid=IwAR1ABUrqDHD-tKTtNE2Tj0VJY1B9B8N-Ty2VChcP6qYNTrvlL4kok2L1NuU)

ภาพเครื่องประดับที่พบภายในกรุหลังการขุดค้นและก่อนที่จะแบ่งปันไปยังประเทศและบุคคลต่างๆ