ผู้เข้าชม
0
17 กันยายน 2567

เตาเผาบริเวณริมคลองโอคงจะเลิกราไป โดยที่ยังไม่อาจทราบสาเหตุได้แน่ชัด ซึ่งอาจจะเป็นเพราะทางน้ำของคลองโอตื้นเขินหรืออาจเป็นเพราะแหล่งผลิตภาชนะดินเผาที่สทิงหม้อเป็นกลุ่มก้อนมากขึ้น หลังจากมีการอพยพมาจากสทิงพระ มาตั้งเป็นหมู่บ้านนักปั้นหม้อกลุ่มใหญ่...’

บันทึกทางประวัติศาสตร์สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ระบุว่า มีการส่งเครื่องปั้นดินเผาสทิงหม้อเข้าแสดงในงานสินค้าพื้นเมือง เพื่อเฉลิมฉลองงานสมโภชพระนครในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ปัจจุบัน ชุมชนสทิงหม้อยังมีประเพณีการทําบุญศาลาพ่อทวดภะคะวัน แม่คําแก้ว พ่อขุนโหร หรือชาวบ้านในชุมชน เรียกว่า ‘ทวดเจ้าบ้านสทิงหม้อ’ ในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๖ เป็นประจําทุกปี 

จากการขุดค้นโบราณคดี พบหลักฐานการตั้งชุมชนซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นสองสมัยคือ สมัยเริ่มแรกที่ยังคงไม่มีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาเพื่อการค้าคงเป็นเพียงผลิตขึ้นใช้เองภายในชุมชนเท่านั้น ในสมัยนั้นคงมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศแล้วโดยพบหลักฐานประเภทเศษเครื่องถ้วยจีน และเครื่องถ้วยต่างชาติซึ่งมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ สมัยที่สองมีอายุอยู่ในช่วง หลังจากพุทธศตวรรษที่ ๒๒ จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เมื่อมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ หรือกับชุมชนภายนอกมากขึ้นก็ผลิตเพื่อใช้เองในชุมชนและผลิตเพื่อการค้า

สทิ้งหม้อ ในทุกวันนี้ไม่มีผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่สืบทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาเทคนิคการผลิตเครื่องปั้นดินเผาแบบโบราณที่เลื่องชื่อไปทั้งคาบสมุทรสทิงพระและพื้นที่ต่างๆ ทั่วคาบสมุทรสยามเทศะอีกแล้ว....

 


 

อ้างอิง

'สทิงหม้อ แหล่งเครื่องปั้นดินเผาแบบโบราณ' โดย อมรา ขันติสิทธิ์ และศรีอนงค์ ทองรักษาวงศ์ วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๑ (ธันวาคม ๒๕๒๓–มีนาคม ๒๕๒๔) 

'ภูมิวัฒนธรรมการสร้างบ้านแปงเมืองที่ทะเลสาบสงขลา: คาบสมุทรสทิงพระ-แผ่นดินบก' โดย ศรีศักร วิลลิโภดม 

'ปากคลองจะทิ้งหม้อ' โดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ

'บ้านสทิงหม้อ' ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

‘การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์และโบราณคดี ชุมชนผลิตเครื่องปั้นดินเผาลุ่มทะเลสาบสงขลาเพื่อพัฒนาสู่การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้สอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจสังคมในโลกปัจจุบัน’ โดย เขมิกา หวังสุข, วิเชษฐ์ จันทร์คงหอม

‘การพัฒนารูปแบบศิลปหัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา : กรณีศึกษาชุมชนบ้านสทิงหม้อ ตำบลสทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา’ โดย ดำรงค์ ชีวะสาโร สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วารสารปาริชาต สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ



คำสำคัญ : สทิงหม้อ,เครื่องปั้นดินเผาสทิงหม้อ,คาบสมุทรสทิงพระ,จังหวัดสงขลา
พรเทพ เฮง
อีเมล์: [email protected]
จบการศึกษาจากคณะโบราณคดี สาขาวิชาเอกโบราณคดี รุ่น ๓๘ ทำงานด้านสื่อ ด้านวัฒนธรรม ศิลปะ และสาระบันเทิงมาค่อนชีวิต