ผู้เข้าชม
0
3 กรกฎาคม 2567

จากรายงานที่มีชื่อว่า ‘ราชวงศ์มหิธรปุระ : ข้อสันนิษฐานใหม่’ ของนายดุสิต ทุมมากรณ์ นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการ  กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น ได้อ้างอิงจารึกปราสาทพระขรรค์ที่ได้บันทึกว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ กษัตริย์แห่งศรียโสธรปุระ (เมืองพระนคร) ทรงมีครอบครัววงศ์ญาติอยู่ที่มหิธรปุระ พระกนิษฐาของพระองค์มีพระราชธิดา ซึ่งเป็นพระราชมารดาของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างปราสาทนครวัด

การมีญาติวงศ์อยู่ที่มหิธรปุระทำให้นักวิชาการเรียกราชวงศ์ของพระองค์ว่า ราชวงศ์มหิธรปุระ โดยนางอมรา ศรีสุชาติ นักโบราณคดีทรงคุณวุฒิ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์) กรมศิลปากร สันนิษฐานว่ามหิธรปุระ น่าจะอยู่ในดินแดนแถบภาคอีสานของไทย และมีกำสเตงมหิธรวรมันเจ้าเมืองวิเภทะ ผู้ดูแลปราสาทพระวิหารเป็นต้นสกุล เป็นรูปแบบศิลปะที่มีเพียง ‘พิมาย’ เท่านั้น

จากการที่ยกข้อมูลมานำเสนอทั้งหมดเพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่า หนังสือโครงการและรายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. ๒๕๐๒ กับโครงการและรายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๐๔ ซึ่งต่อมาคือหนังสือ 'นำเที่ยวพิมายและโบราณสถานในจังหวัดนครราชสีมา' ของนายมานิต วัลลิโภดม เป็นรากฐานและมูลฐานที่สำคัญของการศึกษาและทำงานวิจัยทางวิชาการและการท่องเที่ยวเชิงโบราณคดีและประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สำคัญอย่างมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ้างอิง

หนังสือ 'นำเที่ยวพิมายและโบราณสถานในจังหวัดนครราชสีมา' ของ นายมานิต วัลลิโภดม

โครงการปริทรรศน์พระนิพนธ์ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ข้อมูลโดยสังเขปเกี่ยวกับทับหลังปราสาทหนองหงส์ และโบราณวัตถุสำคัญอื่นๆ ที่พบจากการขุดศึกษาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๕ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย

สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร



คำสำคัญ : ปราสาทหินพิมาย,มานิต วัลลิโภดม,โบราณคดีภาคอีสาน
พรเทพ เฮง
อีเมล์: [email protected]
จบการศึกษาจากคณะโบราณคดี สาขาวิชาเอกโบราณคดี รุ่น ๓๘ ทำงานด้านสื่อ ด้านวัฒนธรรม ศิลปะ และสาระบันเทิงมาค่อนชีวิต