ผู้เข้าชม
0
8 เมษายน 2567

นอกจากนี้ในภาชนะเดียวกันยังพบพระพิมพ์ดินเผาพิมพ์เดียวกันแต่ปิดทองคำเปลว พระพุทธรูปสำริดปางสมาธิพระพักตร์แบบทวารวดี รูปพระโพธิสัตว์ ๔ กร อาจจะเป็นพระมัญชุศรีทรงชฎามงกุฎและประภามณฑล นั่งแบบมหาราชลีลาบนฐานบัว การทำแม่พิมพ์ละเอียดประณีต เนื้อหล่อจากตะกั่ว และรูปสตรี ผมเกล้ามวย นั่งพนมมือบนฐานบัว ๒ องค์ หล่อจากตะกั่วเช่นเดียวกัน 

ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ถึง ๑๕ เมืองอู่ทองยังคงเป็นเมืองสำคัญที่มีกษัตริย์ปกครองและทำนุบำรุงพุทธศาสนาต่อเนื่องเรื่อยมา การสร้างศาสนสถานบนเขานี้ แม้จะไม่แน่ชัดว่าเป็นฐานอาคารรูปลักษณ์อย่างไร เพราะเป็นที่ประดิษฐานพระสถูปเจดีย์หรืออาคารอื่นใด
 

บนยอดเขาทำเทียมพบว่ามีการสร้างฐานอาคารที่อาจจะเป็นฐานเจดีย์

สมัยทวารวดี ต่อมามีการสร้างเจดีย์ทับอาจจะในสมัยอยุธยา

พร้อมกับสร้างวิหารแกลบขนาดเล็กขึ้นพร้อมกัน

 


ส่วนบริเวณต่อมาคือ ‘เขาทำเทียม’ บนยอดเขามีฐานเจดีย์สร้างบนแท่นหินเช่นเดียวกับโบราณสถานพุหางนาค และโดยรอบมีการจัดเรียงทั้งอิฐแบบทวารวดีและหินต่างๆ เจดีย์องค์ระฆังและพระวิหารบนยอดเขาทำเทียมน่าจะมีการสร้างซ่อมแซมจากฐานอาคารแบบทวารวดีแต่เดิมเป็นแบบสมัยอยุธยาช่วงหลังๆ ก็ได้

แต่เมื่อราว พ.ศ. ๒๕๔๓ ชาวบ้านจำนวนมากแตกตื่นพากันไปขุดหาพระพิมพ์ดินเผา คุณมนัส โอภากุล เป็นผู้บันทึกข้อมูลว่า ‘เป็นพระพิมพ์ดินเผาแบบศรีวิชัยขนาดเล็กและขนาดฝ่ามือ ปางมารวิชัย ปางยมกปาฏิหาริย์ และปางนาคปรกรัตนตรัยมหายานแบบลพบุรี’ ทั้งบันทึกภาพไว้และระบุว่าพระพิมพ์เหล่านั้นอยู่ในกองใบไม้ที่ทับถมกันมานานแล้วและน่าจะมาจากกรุเจดีย์ของเขาทำเทียมแต่เดิม (ข้อมูลจากภาพและบันทึกระบบภาพส่วนตัวของมนัส โอภากุล / สืบค้นตุลาคม ๒๕๖๖, โดยมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

 

บนยอดเขาทำเทียมพบว่ามีการสร้างฐานอาคารที่อาจจะเป็นฐานเจดีย์

สมัยทวารวดีต่อมามีการสร้างเจดีย์ทับอาจจะในสมัยอยุธยา พร้อมกับ

สร้างวิหารแกลบขนาดเล็กขึ้นพร้อมกัน