ผู้เข้าชม
0
24 สิงหาคม 2565

     

แหล่งผลิตเกลือในสมัยราชวงศ์หมิงของจีน ระหว่าง พ.ศ.  ๑๙๑๑-๒๑๘๗

       

เทคโนโลยีสมัยใหม่ในยุคแรกในเกลือมีต้นกำเนิดมาจากราชวงศ์หยวนของจีน ประชากรที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในเมืองทำให้เกิดความต้องการเกลือ การรวมตัวของเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประกอบการค้าขายต่างกระตือรือร้นที่จะคิดค้นและปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ และวิธีการใหม่ในการจัดการผลิต การจัดจำหน่าย และการเก็บภาษีจากเกลือ

ในสมัยราชวงศ์หมิงโรงเกลือในบึงเกลือทางตอนเหนือของมณฑลเจียงซูและชายฝั่งตะวันออกใกล้เทียนจินในปัจจุบันเป็นผู้ผลิตเกลือรายใหญ่ที่สุด ใช้วิธีการระเหยของน้ำทะเลภายใต้แสงแดดบางช่วงนิยมใช้กันในฝูเจี้ยนหรือฮกเกี้ยนและน่าจะส่งอิทะิพลต่อเทคนิคการผลิตเกลือมนเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมาก อีกวิธีหรึ่งคือการต้มน้ำทะเลซึ่งเป็นเทคนิคการผลิตที่แพร่หลายมากที่สุดในจีน ซึ่งมีช่วงเวลาแสงแดดแผดจ้าน้อย แต่ในช่วงปลายศตวรรษที่ ๑๙ ได้จัดหาเกลือของจีนประมาณ ๘๐ % แต่เมื่อถึงศตวรรษที่ ๒๐ เครื่องจักรอุตสาหกรรมได้เข้ามาแทนที่โรงเกลือชายฝั่งเหล่านี้

 

เมื่อถึงสมัยราชวงศ์ชิง ได้เข้ายึดพื้นที่เกลือทันทีเพื่อตัดเสบียงของศัตรูและหารายได้สำหรับตนเอง พวกเขาฟื้นระบบสิบโซนที่จัดตั้งขึ้นในราชวงศ์ซ่ง จักรพรรดิราชวงศ์ชิงในยุคแรกตัดสินใจให้การกำกับดูแลเกลือไว้กับกรมราชทัณฑ์ ที่ตั้งอยู่ในพระราชวังต้องห้าม ซึ่งสามารถควบคุมรายได้ได้โดยตรง เมื่อระบบจักรพรรดิล่มสลาย แต่ระบบการจัดเก็บภาษีจากเกลือยังดำเนินต่อมาได้อย่างไม่ราบรื่นนักและดำเนินเรื่อยมาจนถึง และเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๗ นี้เอง ที่รัฐบาลจีนเริ่มผ่อนคลายจากการควบคุมที่เข้มงวดที่มีมากว่า ๒,๐๐๐ ปี น่าจะเป็นแห่งเดียวที่มีการผูกขาดยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติทีเดียว การผูกขาดเกลือด้วยการเก็บภาษีโดยตรงทำรายได้ให้รัฐเป็นรองเพียงภาษีที่ดิน

 

ภาพถ่ายการต้มเกลือที่เสฉวนเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ จะเห็นเตาและกระทะทรงกลม เมื่อต้มเกลือได้แล้วจะใส่ เกลือใส่ตะกร้าแขวนไว้เหนือกระทะ น้ำเกลือจึงสามารถหยดกลับลงในกระทะและเกลือได้ คนงานถือช้อนขนาดใหญ่ รูปร่างแบบจอบวางบนเตา ในช่วงปลายศตวรรษที่ ๑๙ ที่ Daning เสฉวนตะวันออก ภาพเมื่อทศวรรษที่  ๒๔๗๓   ภาพจากSource : Wu Wei,Sichuan yanzheng shi tuce , vol. 3, p. 71