ผู้เข้าชม
0
24 เมษายน 2564

พร้อมเสนอว่า ศรีวิชัยไม่ใช่ราชอาณาจักรที่มีศูนย์กลางหรือเมืองหลวงอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียว แม้ว่าในส่วนตัวจะเห็นว่าเมืองปาเล็มบังมีตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ และหลักฐานทางโบราณคดีหลายอย่างชี้ให้เห็นว่าเป็นเมืองใหญ่และสำคัญในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ ลงมาก็ตาม

เหตุที่ไม่ยอมรับศรีวิชัยเป็นราชอาณาจักร เพราะโครงสร้างทางการเมืองการปกครองที่จะต้องเป็นลักษณะรวมศูนย์ แต่ศรีวิชัยเป็นกลุ่มเมืองชายทะเลและหมู่เกาะที่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะเป็นสหพันธรัฐที่เรียกว่า มัณฑละ [Mandala] หรือมณฑล ซึ่งแต่ละรัฐในมณฑลต่างๆ มีราชาของตนปกครองอย่างเป็นอิสระ แต่เชื่อมโยงกันด้วยความสัมพันธ์ทางสังคมและการเมืองระหว่างกษัตริย์ของแต่ละรัฐ ด้วยการกินดองเป็นเครือญาติด้วยการแต่งงาน ที่ทำให้กษัตริย์ผู้อาวุโสและมากด้วยปัญญาบารมี ได้รับการยกย่องให้เป็นมหาราชาหรือจักรพรรดิราช อันเป็นแนวคิดของทางอินเดีย

โดยสรุปก็คือเป็นประมุขของสหพันธรัฐนั่นเอง และการเป็นประมุขของมัณฑละดังกล่าวเป็นเรื่องเฉพาะกษัตริย์ ที่ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับเมืองหลวงหรือเมืองสำคัญทางการเมืองและเศรษฐกิจ หากสิ้นพระชนม์ไปแล้ว อาจมีกษัตริย์จากรัฐอื่นที่มีบารมีก้าวขึ้นแทนที่ จึงทำให้ตำแหน่งของเมืองสำคัญเปลี่ยนตามไปด้วย

แนวคิดในเรื่องการกินดองหรือความสัมพันธ์ทางการเมืองอันเกิดจากการแต่งงานระหว่างกษัตริย์ผู้ครองรัฐในรูปมัณฑละนี้ สอดคล้องกันกับการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองสุโขทัย สุพรรณภูมิ อโยธยา เพชรบุรี ราชบุรี แพรกศรีราชา และสุพรรณบุรี ที่เป็นบรรดานครรัฐในลุ่มน้ำเจ้าพระยาในภาคกลางของอาจารย์ศรีศักร ความเป็นราชอาณาจักรของกรุงศรีอยุธยานั้น หาได้เกิดมาแต่สมัยการสร้างกรุงศรีอยุธยาในรัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ไม่

 

นักประวัติศาสตร์และโบราณคดีชาวต่างประเทศที่มีสมมติฐานทางวิชาการที่แตกต่างกัน

สร้างแนวคิดเกี่ยวกับการมีอยู่ของบ้านเมืองที่ชื่อ 'ศรีวิชัย'

 

 

ท่านพุทธทาสภิกขุแห่งสวนโมขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี