ผู้เข้าชม
0
8 เมษายน 2567

ซึ่งการพบการเขียน ภาพธรรมจักรและตราสัญลักษณ์คล้ายรูปธรรมจักร เขียนด้วยสีแดง (จากแร่เฮมาไทต์) และดำ (ที่น่าจะทำจากแร่แมกนีไทต์) นั้น พบเป็นเอกลักษณ์ในบริเวณถ้ำในเขตจังหวัดตรัง เช่นที่ ถ้ำวัดเขาพระ ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง พบภาพเขียนสีแดงบริเวณเพิงผาหน้าถ้ำซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายฝีมือช่างแบบที่เรียกว่าพระไชยาหรือ ‘ พระข้อมือหัก  ที่เป็นอัตลักษณ์สำคัญของพระพุทธรูปที่แพร่หลายในเขตไชยา นครศรีธรรมราชและตรังช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ที่ผนังถ้ำเหนือเศียรพระพุทธรูปมีลายเขียนเป็นรูปวงกลมคล้ายดอกบัว มีอักษรไทยอักษรถ้ำเขาสามบาตร แต่ลบเลือนมากจนจับใจความไม่ได้

และตั้งอยู่ไม่ไกลจากกลุ่มพระพิมพ์ที่บรรจุไว้ตามถ้ำที่เขากอบและเขานุ้ย ซึ่งเป็นพระพิมพ์แบบอิทธิพลปาละหรือที่เรียกว่า พระพิมพ์แบบศรีวิชัย พระพิมพ์จากเขานุ้ยในอำเภอห้วยยอดนี้ บางชิ้นพบในรูปแบบเช่นเดียวกับพระพิมพ์ที่เขาทำเทียม อู่ทอง ส่วนพระดินเผาที่พบจากถ้ำเขากอบเป็นพระพิมพ์แบบลพบุรี แม้จะทำพิมพ์ไม่เหมือนปางที่พบในเขตภาคกลาง แต่ก็เห็นชัดเจนว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกันในรูปแบบที่เรียกว่า พระพิมพ์แบบลพบุรี นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปหินทรายแดงขนาดเล็กที่ถูกบรรจุไว้ตามถ้ำเขากอบนี้ มีลักษณะแบบพระข้อมือหักที่เป็นพระในรูปลักษณ์แบบไชยา บริเวณเขานุ้ย เขากอบ เขา- ปินะ ในอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นแหล่งที่พบแร่ดีบุกและน่าจะมีการผลิตดีบุกมาแต่โบราณ เป็นเขาหินปูนต่อกันที่มีเพิงผาถ้ำ [Shelter] ขนาดใหญ่ริมลำน้ำตรัง ซึ่งแตกต่างไปจากกลุ่มเขาที่อู่ทอง ซึ่งเป็นเขาหินผสมหลากหลาย และมีเพียงโพรงถ้ำขนาดเล็กๆ เป็นส่วนใหญ่อีกแห่งที่สำคัญคือบริเวณถ้ำตรา เขาหินปูนในตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ภายในถ้ำบริเวณเพดานมีภาพคล้ายตราประทับรูปวงกลมและมีลวดลายแต่ค่อนข้างลบเลือน ทั้งถ้ำเขาพระและถ้ำตรา อยู่ในเส้นทางข้ามเขาบรรทัดออกสู่พื้นที่ในจังหวัดพัทลุงได้ และในเขตพัทลุงนี้มีการพบการวาดภาพเป็นเรื่องราวลงบนผนังถ้ำที่เป็นเพิงผาหินปูนในยุคประวัติศาสตร์หลายแห่

การเขียนภาพดวงตราคล้ายธรรมจักร ที่ผนังเผิงผาของวัดถ้ำเขาพระ อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง ซึ่งมีตำนาน

นางเลือดขาวปรากฏอยู่ โดยตำนานนี้อิงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘