ผู้เข้าชม
0
6 มีนาคม 2568

ทั้งที่การวางตำแหน่งทวารวดีนั้น หมายถึงกลุ่มนครรัฐใหญ่น้อยทั้งลุ่มเจ้าพระยา ไม่ใช่เลือกเอาเฉพาะเพียงเมืองละโว้มาเป็นตัวแทนเท่านั้น เป็นปัญหาในการตีความเรื่องราวซับซ้อนแบบไม่คิดอะไรมาก อีกทั้งช่วงเวลานี้ยังคงมีการค้าที่เฟื่องฟูขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่ง เริ่มเกิดบ้านเมืองใหญ่น้อยขึ้นตามเส้นทางเดินทางภายในมากมาย ระบบเศรษฐกิจที่มีเครือข่ายการผลิตเพื่อส่งออกเช่นนี้ไปด้วยกันไม่ได้กับการตีความจากจารึกแบบหลวมๆ โดยสรุปว่า ละโว้ถูกทำลายและกลายเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจทางการเมืองของกษัตริย์ผ่านขุนนางจากเมืองพระนคร สภาพปกติของบ้านเมืองในลุ่มเจ้าพระยาเป็นแบบหมดยุคหนึ่งเข้าสู่ยุคใหม่เพราะถูกทำลายอย่างเป็นเอกภาพดังข้อเสนอเช่นนี้ได้ไหม จึงเห็นควรวิเคราะห์ตั้งคำถามเอากับสมมติฐานที่มีปัญหาดังกล่าว

ทั้งการเกิดขึ้นและมีอยู่ของเมืองพระนครไม่ได้สมบูรณ์หรือราบรื่นเป็นเอกภาพแต่อย่างใด กลับมีปัญหาทางการเมืองทางฟากฝั่งตะวันออกกับอาณาจักรจามปาที่มีบ้านเมืองในระบบมัณฑละหลายแห่งตลอดชายฝั่งทางเหนือจนถึงส่วนกลางของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน

ความหลงใหลในอำนาจทางการเมืองของพระเจ้าชัยวรมันที่ ต่อบ้านเมืองในลุ่มเจ้าพระยากำเนิดจากประวัติศาสตร์จากจารึกที่ถูกตีความโดยไม่คำนึงบริบทแวดล้อม

จากป้ายข้อมูลเป็นทางการที่ปักไว้บริเวณโบราณสถานหลายแห่งในภูมิภาคตะวันตก อันเนื่องจากข้อสันนิษฐานจากนักวิชาการชาวฝรั่งเศส ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ เป็นต้นทาง และนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะใช้อ้างอิงเป็นกรอบการวิเคราะห์รูปแบบวัตถุและโบราณสถานมาตลอดจนถึงวันนี้ 

จารึกปราสาทพระขรรค์ พ.ศ. ๑๗๓๔ มีเนื้อความสรรเสริญพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ การสนับสนุนพุทธศาสนาแบบมหายาน บางบทกล่าวถึงให้นำพระชัยพุทธมหานาถ ๒๓ องค์ไปประดิษฐานตามตำบลหรือเมืองต่างๆ ที่เซเดส์ระบุว่าเป็น เมืองลพบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และเมืองสิงห์ ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในเขตแดนประเทศไทย โดยเสนอว่าคนไทยคงได้ดัดแปลงไปแล้ว 

และยังขยายความ เป็นการแสดงออกถึงความกลัวเพราะเชื่อถือในบางสิ่งบางอย่างและยังดูเป็นการประหลาดพอใช้  โดยเหตุนี้จึงยืนยันอำนาจทางการเมืองของพระเจ้าแผ่นดินและแสดงถึงการวางรากฐานในฐานะอำนาจทางศาสนาของพระองค์ด้วย(ศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ค้นพบในบริเวณ

ปราสาทพระขรรค์เมื่อ .. ๒๔๘๒ โดยศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ เขียนบทความชื่อ La stèle du Práh Khằn d’Ankor, Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient Année 1941, p. 255-302 หรือเมื่อ .. ๒๔๘๔ แปลโดย สุภรณ์ อัศวสันโสภณ ในประชุมศิลาจารึกภาคที่ , สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๓ กล่าวว่าจารึกด้วยภาษาสันสกฤตแต่งเป็นโศลกต่างๆ ๑๗๙ บท เมื่อราว .. ๑๗๓๔)

ประเด็นสำคัญคือการตีความข้อมูลจากจารึกที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ถวายพระชัยพุทธมหานาถแก่เมืองต่างๆ มาเสนอว่า เมืองที่ได้รับพระนั้นอยู่ในอำนาจทางการเมืองของกษัตริย์แห่งกัมพูชา โดยสันนิษฐานจากชื่อที่คล้ายคลึงกับบ้านเมืองปัจจุบันและศาสนสถานที่ได้รับอิทธิพลจากเมืองนครธมในสมัยรัชกาลนั้นเป็นสำคัญ
 


ป้ายที่ชุมชนสระโกสินารายณ์ ที่เลือกที่จะเขียนชื่อแหล่งโบราณสถานตามการสันนิษฐาน
ของนักวิชาการบางกลุ่มให้เป็นเมืองศัมพูกปฏนะที่ปรากฏในจารึกปราสาทพระขรรค์