ผู้เข้าชม
0
20 มกราคม 2568

ส่วนในเชิงประวัติศาสตร์แม้ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ตำนานเมืองหริภุญไชยและหิรัญนครเงินยางจะไม่กล่าวถึงภูกามยาว แต่ร่องรอยจากเหตุการณ์ครั้งขุนจอมธรรมเข้าฟื้นฟูภูกามยาว ได้แสดงให้เห็นว่า อย่างช้าในช่วงเวลาดังกล่าวภูกามยาวเป็นอาณาจักรที่มีขอบเขตชัดเจนและกว้างใหญ่ จึงอาจเป็นคำตอบได้ว่าปัจจัยหนึ่งที่ตำนานกลุ่มเมืองเชียงแสนและกลุ่มเมืองหริภุญไชยไม่กล่าวถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันเพราะมี “อาณาจักรภูกามยาว” คั่นไว้นั่นเอง



ประติมากรรมปูนปั้นศิลปะหริภุญไชย พบประดับอยู่บริเวณฐานเจดีย์วัดโพธิงาม ตำบลฝั่งหมิ่น
อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี)
ที่มา: เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ. ศิลปวัตถุที่พบในเมืองพะเยา. 2561


ส่วนหนึ่งของเศษภาชนะดินเผา ในวัฒนธรรมหริภุญไชย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗
เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ พบจากการสำรวจในกว๊านพะเยา ใน พ.ศ. ๒๕๖๑



ส่วนหนึ่งของเศษภาชนะดินเผา ในวัฒนธรรมหริภุญไชย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗
เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ พบจากการสำรวจในกว๊านพะเยา ใน พ.ศ. ๒๕๖๑