ผู้เข้าชม
0
2 มกราคม 2568

ซึ่งท่านก็ได้ทรงนิพนธ์เกี่ยวกับโบราณสถานแห่งนี้ขึ้นในชื่อเรื่อง ‘ปรางค์กู่วัดพระโกณา’ ตีพิมพ์ในวารสารโบราณคดี ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓ ซึ่งนับเป็นงานเขียนที่กล่าวถึงการศึกษากู่พระโกนาเป็นข้อมูลภาษาไทยครั้งแรก

บทความของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ได้ทรงอ้างถึง หนังสือเรื่องบัญชีรายชื่อโบราณสถานในประเทศกัมพูชา เล่ม ๒ ของนายลาจองกีแยร์ที่เคยศึกษาด้านแผนผัง เอาไว้เมื่อครั้งก่อน พร้อมทั้งเขียนแผนผังโบราณสถานแห่งนี้ขึ้นใหม่อีกครั้งจากสภาพที่ทรงพบในขณะนั้น โดยอาศัยผังเดิมจากที่นายลาจองกีแยร์ได้เขียนไว้ ซึ่งพอนํามาเปรียบเทียบกันกับของนายลาจองกีแยร์ พบว่ามีสิ่งก่อสร้างภายในเปลี่ยนแปลงไป นั่นคืออาคารทรงสี่เหลี่ยมที่อยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาทประธานได้หายไป ไม่ปรากฏในแผนผังที่หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงเขียนขึ้น



ลักษณะเด่นของทับหลังที่พบส่วนใหญ่ เป็นรูปหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัย
ออกมาทั้งสองข้างและใช้มือจับท่อนพวงมาลัยนั้นไว้ 

นั่นเพราะอาคารหลังนี้ได้ถูกรื้อออกไปโดยราษฎรในชุมชน จึงทำให้อาคารทรงสี่เหลี่ยมเหลือเพียงหลังที่อยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตัวปราสาทประธานเท่านั้น นอกจากนี้ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศสกุล ได้ทรงศึกษาเพื่อกำหนดอายุของโบราณสถานแห่งนี้ โดยวิเคราะห์หลักฐานจากลวดลายและภาพสลักของส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมที่หลงเหลืออยู่ เช่น เศียรนาค ทับหลัง เสาประดับกรอบประตู เสาติดผนัง ซึ่งเมื่อทำการเปรียบเทียบศิลปะขอมแล้ว ทรงสรุป ไว้ว่า ปรางค์กู่วัดพระโกนานี้อยู่ในศิลปะขอมสมัยบาปวน ระหว่าง พ.ศ. ๑๕๕๐–๑๖๕๐ ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ของขอม และคงสร้างขึ้นในศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) เนื่องจากภาพสลักต่างๆ ที่ยังเหลืออยู่ล้วนเป็นเรื่องเล่าหรือคติในศาสนาพราหมณ์ฮินดูทั้งสิ้น 

ส่วนการกำหนดอายุสมัยของปราสาทกู่พระโกนานั้น ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ได้ทรงกำหนดอายุสมัยไว้โดยอาศัยลวดลายสลักตามส่วนประกอบต่างๆ ที่ประดับตกแต่งตัวสถาปัตยกรรม เช่น นาคศิลาสลักซึ่งมี ๗ เศียร เป็นนาคเศียรโล้นมีลวดลายข้างหลังเป็นลายก้านต่อดอก แต่มีสิ่งพิเศษในการตกแต่งนาคอยู่อย่างหนึ่งคือ ต้นคอนาคสลักเป็นศีรษะมังกรกําลังคายนาคอยู่ 

ทับหลังที่พบก็มีทั้งแบบที่ตกแต่งเป็นลายท่อนพวงมาลัยและตกแต่งเล่าเรื่องราวตอนใดตอนหนึ่งในคัมภีร์ทางคติของศาสนาฮินดู ลักษณะเด่นของทับหลังที่พบส่วนใหญ่เป็นรูปหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัยออกมาทั้งสองข้าง และใช้มือจับท่อนพวงมาลัยนั้นไว้ พร้อมทั้งแลบลิ้นออกมาเป็นรูปสามเหลี่ยมทั้งด้านบนและด้านล่างมีลายใบไม้ประกอบ ไม่มีพวงอุบะมาแบ่งที่เสี้ยวของทับหลัง 

ส่วนทับหลังที่ตกแต่งเล่าเรื่อง เช่น พระวิษณุทรงครุฑ มีนาคล้อมรอบโดยนาคนั้นมีเศียรโล้น การตกแต่งเสาประดับกรอบประตูแสดงการรักษาลำดับของลวดบัวที่ประดับเสาว่า ลายตรงกลางสำคัญและหนากว่าลายที่เสี้ยว ซึ่งลักษณะต่างๆ เหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นว่า อายุสมัยทางศิลปะของกู่พระโกนานั้นเมื่อเทียบกับศิลปะเขมรโบราณ กำหนดอยู่ในสมัยเดียวกับศิลปะแบบบาปวน มีอายุการสร้างอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๑๕๕๐–๑๖๕๐

ปรางค์องค์กลางถูกดัดแปลงเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑ โดยการฉาบปูนทับและก่อขึ้นเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระทั้ง ๔ ทิศ หน้าปรางค์องค์กลางชั้นล่างสร้างเป็นวิหารพระพุทธบาทประดับเศียรนาค ๖ เศียรของเดิมไว้ด้านหน้า ส่วนปรางค์อีก ๒ องค์ ได้รับการบูรณะจากทางวัดเช่นกัน ปรางค์องค์ทิศเหนือทางวัดสร้างศาลาครอบ ภายในมีหน้าบันสลักเรื่องรามายณะและทับหลังสลักภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ติดอยู่เหนือประตูทางด้านหน้า