ผู้เข้าชม
0
26 ธันวาคม 2567

ชุมทางน้ำที่บึงบอระเพ็ดการขนส่งสินค้าจากเหนือคือไม้สักและข้าว ซึ่งส่งมาทางแม่น้ำน่านโดยอาศัยเรือยนต์ ต่อมาเมื่อมีการสร้างทางรถไฟในสมัยรัชกาลที่ ๕ การขยายตัวของการค้ามีมากขึ้น มีชาวจีนมากมายเข้ามาอยู่อาศัย ประมาณกันว่า พ.ศ.๒๔๔๗ มีชาวจีนในนครสวรรค์ถึง ๖,๐๐๐ คน ในขณะที่ชาวจีนในกรุงเทพฯ มีราว ๑๐,๐๐๐ คน ชุมชนแต่เดิมอยู่ทางฝั่งตะวันออกของลำน้ำน่าน (แควใหญ่) เพราะข้าวถูกส่งมาทางลำน้ำน่าน ต่อมาตัวเมืองขยายมาทางตะวันตกความเจริญสูงสุดในรัชกาลที่ ๖ และต้นรัชกาลที่ ๗

บริเวณนครสวรรค์เป็นชุมทางการค้า เป็นที่ชุมนุมของเรือสินค้าที่ใหญ่ที่สุดนอกจากกรุงเทพฯ ไม้สักจากภาคเหนือเป็นจำนวนมาก จะถูกส่งมาตามแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่านมารวมกันที่ปากน้ำโพก่อนจะแยกส่งไปตามที่ต่างๆ เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และการขยายเส้นทางรถไฟไปถึงเชียงใหม่ใน พ.ศ.๒๔๖๕

หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้สร้างสถานีรถไฟหนองปลิง (สถานีนครสวรรค์) ทำให้ความสำคัญในบริเวณแควใหญ่และการใช้เส้นทางน้ำลดลง ประกอบกับมีการสร้างถนนและเปิดสะพานเดชาติวงศ์ใน พ.ศ.๒๔๙๓ นครสวรรค์ได้กลายมาเป็นเมืองผ่าน เพราะสินค้าต่างๆ ไม่ต้องมารวมที่นครสวรรค์อีกต่อไปจนถึงปัจจุบันนี้

 

 

 

 

 

 


 

อ้างอิง

‘โบราณคดีเหนือบึงบอระเพ็ด’ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๒๖ เดือนมกราคม-มีนาคม ปี พ.ศ. ๒๕๔๓

‘ชุมทางน้ำที่บึงบอระเพ็ด’ โดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ

‘ทะเลสาบ: ภูมินิเวศสำคัญในการตั้งถิ่นฐาน’ โดย อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม

จาก 'ละโว้ถึงลพบุรี' โดย อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม

‘ศิลปะโบราณวัตถุพบที่จังหวัดนครสวรรค์ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ใน นครสวรรค์: รัฐกึ่งกลาง’ โดย พิริยะ ไกรฤกษ์ บรรณาธิการโดย สุภรณ์  โอเจริญ



คำสำคัญ : บึงบอระเพ็ด,นครสวรรค์,โบราณคดี,วัดเกยไชยเหนือ
พรเทพ เฮง
อีเมล์: [email protected]
จบการศึกษาจากคณะโบราณคดี สาขาวิชาเอกโบราณคดี รุ่น ๓๘ ทำงานด้านสื่อ ด้านวัฒนธรรม ศิลปะ และสาระบันเทิงมาค่อนชีวิต