ผู้เข้าชม
0
29 มกราคม 2564

ชิ้นส่วนมโหระทึกสำริดแบบเฮเกอร์ I เนื่องในวัฒนธรรมดองเซิน อายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๓-๕ หรือร่วมสมัยกับยุคสุวรรณภูมิของคาบสมุทรสยาม-มลายู พบที่บ้านจะโหนง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

เจีย์ที่เขาน้อย ตั้งอยู่ในเมืองสงขลาสมัยอยุธยา แม้จะมีร่องรอยการบูรณะเจดีย์ในสมัยอยุธยา แต่ค้นพบหินแกะสลักรูปกุฑุเนื่องในวัฒนธรมแบบฟูนันทางชายฝั่งทะเลเวียดนามตอนกลางถึงตอนใต้ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๖

หินทรายแดงสลักรูปกุฑุ ที่ใช้ประดับช่องโบราณสถานแบบปราสาทหรือเจดีย์ทางพุทธศาสนา ร่องรอยรูปแบบศิลปกรรมแบบฟูนันอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๖

โบราณสถานที่สร้างด้วยหินกระเทาะเป็นก้อนขนาดใหญ่ขนาดไม่เท่ากัน จัดเรียงเป็นระเบียบทำเป็นอาคารโบสถ์ ฐานเสมา ฐานเจดีย์ ฐานอาคารอื่นๆ พบบนเขาที่วัดสูงเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา ร่องรอยมีเศษภาชนะแบบเคลือบของจีนในราชวงศ์ซ่งและราชวงศ์หมิง ส่วนจะเก่าไปกว่านี้หรือไม่ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้มาก และต้องมีการตรวจสอบให้ชัดเจนมากขึ้น