ส่วนด้านหลังเรียบไม่มีลาย เหรียญอยู่ในสภาพชำรุด และติดกันแน่นเป็นกลุ่มอยู่กับดินบริเวณส่วนคอของภาชนะดินเผาทรงกลมที่มีคอสูง กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว
สำหรับโบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๑๘ เมืองโบราณอู่ทองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโบราณสถานเนื่องในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีลักษณะเป็นเนินดินที่มีวัสดุโครงสร้างของโบราณสถานได้แก่ ศิลาแลง ก้อนหินปูน และอิฐ กระจายอยู่ทั่วเนินดิน โดยพบภาชนะดินเผาดังกล่าวในลักษณะวางตั้งตรง ส่วนคอมีรอยแตก สามารถแยกออกจากลำตัวได้ ภายในมีเหรียญรูปสังข์บรรจุอยู่เต็ม เหรียญเกาะตัวกันแน่นจนไม่สามารถนำออกมาได้ ต่อมามีการนำเหรียญดังกล่าวออกจากตัวภาชนะ คงเหลือเพียงเหรียญที่ติดแน่นบริเวณส่วนคอจนกระทั่งปัจจุบัน
นักโบราณคดีที่ทำการศึกษาวิจัยสันนิษฐานว่า เหรียญรูปสังข์พร้อมภาชนะดินเผานี้ ทำขึ้นสำหรับใช้ในการประกอบพิธีกรรม หรืออาจเกี่ยวข้องกับการวางฤกษ์ศาสนสถาน การบรรจุเหรียญลงในภาชนะดินเผาแล้วฝังไว้บริเวณศาสนสถาน ยังพบที่โบราณสถานแห่งอื่นด้วย เช่น เหรียญเงินมีจารึก ‘ศรีทวารดี ศวรปุณยะ’ เหรียญมีสัญลักษณ์มงคล และแท่งเงินตัดบรรจุในภาชนะดินเผาพบที่โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๗ และเหรียญรูปสังข์บรรจุในภาชนะดินเผาร่วมกับพระพิมพ์พบที่โบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ เมืองโบราณอู่ทอง เป็นต้น
ภูมิวัฒนธรรมของเขตคอกดินช้าง-เขาพระ-เมืองอู่ทอง อาจารย์ศรีศักรได้ใช้แนวความคิดนิเวศวัฒนธรรมเข้ามาสังเคราะห์ตีความออกมาว่า
‘….อู่ทอง ตั้งอยู่บนเนินเขาที่ทำเป็นแกนของชุมชนนี้เขาทำเป็นเชิงเขา เรียกว่า เขาทำเทียม มันมีพบรอยสลักที่เป็นภาษาสันสกฤตที่เรียกว่า ปุษยคีรี คือแปลว่าเขาดอกไม้ แล้วความสำคัญของเขานี้อยู่ที่เขาพระ แล้วที่ตีนเขาพระนี้เป็นแหล่งพุทธศาสนา เพราะว่านอกจากพบพระสถูปแบบพุทธศาสนาแล้ว ยังพบพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่สลักแกะด้วยหิน เป็นพระพุทธรูปแบบแรกๆ ปัจจุบันนี้อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
เขตนี้เป็นเขตฮินดู ถ้าหากว่าลงไปตามลำน้ำ ลำน้ำจระเข้สามพันอยู่ทางขวามือเป็นที่ต่ำ ตามลำน้ำนี้เป็นการตั้งถิ่นฐานของคนในพุทธศาสนามาก ถัดจากนี้ก็กระจายกันไปทั่ว แต่ว่าพุทธศาสนาจะสำคัญมาก เพราะว่าต่อเนื่องและมีจำนวนมากกว่า
เขตนี้เป็นเขตฮินดู ถ้าหากว่าลงไปตามลำน้ำ ลำน้ำจระเข้สามพันอยู่ทางขวามือเป็นที่ต่ำ ตามลำน้ำนี้เป็นการตั้งถิ่นฐานของคนในพุทธศาสนามาก ถัดจากนี้ก็กระจายกันไปทั่ว แต่ว่าพุทธศาสนาจะสำคัญมาก เพราะว่าต่อเนื่องและมีจำนวนมากกว่า
บริเวณที่เป็น ‘เขาคอก’ นี้ อ่างเก็บแบบโบราณที่เรียกว่า ‘บาราย’ คำว่าบารายหมายความว่าต้องเก็บน้ำบนผิวดิน มีคำเป็นภาษาสันสกฤตมาแบบนี้ ถ้าไปดูที่อีสาน บารายในอีสานพื้นที่กว้างครึ่งกิโลเมตรก็มี แต่ที่นี่เล็กเพราะว่าพื้นที่จำกัดจึงทำขอบอ่างให้มันสูงขึ้นเพื่อที่จะเก็บน้ำให้ได้ปริมาตรมาก เป็นลักษณะของการตั้งถิ่นฐานตรงนี้

เหรียญเงินมีจารึก ‘ศรีทวารดี ศวรปุณยะ’ และเหรียญมีสัญลักษณ์มงคล