ผู้เข้าชม
0
30 ตุลาคม 2567

ที่ดินของวัดพระพุทธบาท ดังที่ระบุชัดเจนในพงศาวดาร ว่ามีพระราชโองการของพระเจ้าทรงธรรม ที่มีพระราชศรัทธาอุทิศถวายที่ดิน โดยนับออกไปจากรอยพระพุทธบาท ๑ โยชน์ หรือ ๑๖ กิโลเมตร โดยรอบและตั้งให้มีวิสุงคามสีมากว้าง ๑๔.๗๐ เมตร ยาว ๒๙.๐๙ เมตร เป็นเมือง จัตวาสร้างยาวนานถึง ๔ ปี เสร็จแล้วทรงเสด็จไปนมัสการและจัดงานสมโภชนานกว่า ๗ วัน จนเป็น ราชประเพณีสืบราชประเพณีสืบมา และในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ยุคของรัฐบาลพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเห็นว่าควรจะรักษาพื้นที่ดินของพระพุทธบาทเป็นประโยชน์ต่อศาสนา จึงออกพระราชกฤษฎีกาเป็นเขตหวงห้าม มีพื้นที่ ๘,๕๑๓ ไร่ ซึ่งไม่ครบตามที่พระเจ้าทรงธรรมถวายไว้เป็นอุทิศบูชา 

จนมาในยุคของสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีการเวนคืนที่ดินในจํานวนนี้ไปได้ ๒,๐๐๐ ไร่ เพื่อก่อตั้งเป็นนิคมสร้างตนเองพระพุทธบาท ฉะนั้นที่ดินจํานวน ๖,๕๑๓ ไร่ จึงเป็นธรณีสงฆ์ซื้อขายกันไม่ได้แม้จะมีโฉนดก็ตาม 

อย่างไรก็ตามที่ดินวัดพระพุทธบาทก็มีกรณีเป็น ข้อพิพาทอยู่หลายครั้ง แต่ทุกครั้งก็ถูกยกฟ้องด้วยการพิจารณาจากพระราชพงศาวดารเกี่ยวกับพระพุทธบาท

 


อ้างอิง

'แสนเสียดายเขาพระพุทธบาท' โดย อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม บทบรรณาธิการ วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๒๙ ฉบับที่ ๔ เดือนตุลาคม - ธันวาคม พ.ศ.  ๒๕๔๖

'ตามเสด็จกษัตริย์อยุธยาไปสักการะพระพุทธบาท' โดย อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ชุดประวัติศาสตร์สองข้างทาง อาจารย์ศรีศักรพาเที่ยว

พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๓๙๔ – ๒๔๑๑ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์

'คติความเชื่อเรื่องพระพุทธบาทสระบุรีและประเพณี "ไปพระบาท" ในการสร้างสรรค์วรรณคดีไทย' โดย วรรณวิวัฒน์ รัตนลัมภ์ วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. ๒๕๕๖

'พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี' โดย หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ กรมศิลปากร ปี พ.ศ. ๒๔๙๒

'อำเภอพระพุทธบาท' สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพระพุทธบาทที่ว่าการอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

'คำให้การของขุนโขลน' ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗

ประวัติวัดพระพุทธบาท สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีพิมพ์แจกในงาน ทอดพระกฐินพระราชทานของสำนักนายกรัฐมนตรี ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)

‘ตำนานรอยพระพุทธบาทสระบุรีในบุณโณวาทคำฉันทร์และโคลงลิลิตดั้นตำนานพระพุทธบาท’ บทความวิทยานิพนธ์โดย วรรณวิวัฒน์ รัตนลัมภ์ ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๑ เดือนมกราคม - มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗

'รอยพระพุทธบาทในศิลปะร่วมสมัยไทย : กรณีศึกษา พิชัย นิรันต์ และ พัดยศ พุทธเจริญ' วิทยานิพนธ์โดย วรรณกวี โพธะ หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์ ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๖

‘รอยพระพุทธบาทบนจิตรกรรมฝาผนังภายในกรุพระปรางค์ วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา’ โดย ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์ ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๗

‘ระฆังโบราณ : การจัดทำทะเบียนและการสื่อความหมาย ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรี’ วิทยานิพนธ์โดย สุภัทรชัย จีบแก้ว สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปี พ.ศ. ๒๕๕๙



คำสำคัญ : วัดพระพุทธบาท,เขาพระพุทธบาท,รอยพระพุทธบาท,สระบุรี
พรเทพ เฮง
อีเมล์: [email protected]
จบการศึกษาจากคณะโบราณคดี สาขาวิชาเอกโบราณคดี รุ่น ๓๘ ทำงานด้านสื่อ ด้านวัฒนธรรม ศิลปะ และสาระบันเทิงมาค่อนชีวิต