ผู้เข้าชม
0
23 ตุลาคม 2567

ความชัดเจนในการตีความตามภูมิวัฒนธรรมของอาจารย์ศรีศักร ได้ปรากฏในบทความ 'กำเนิดสุโขทัย รัฐแรกเริ่มของชนชาติไทยในสยามประเทศ' โดยเฉพาะการนำเสนอแนวความคิดว่า ‘ทุ่งยั้งคือนครสระหลวง’ ผ่านการสร้างเครือข่ายอำนาจด้วยการกินดอง

‘…จากการศึกษาพื้นที่อันเป็นถิ่นฐานการสร้างบ้านแปงเมือง ที่ข้าพเจ้าเรียกว่า ภูมิวัฒนธรรม จากชื่อเมืองบรรดามีในจารึกสุโขทัย ตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหงลงมาจนถึงรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท พบว่าพื้นที่ที่เป็นแกนกลางของรัฐสุโขทัยในระยะเริ่มแรกนั้น เป็นพื้นที่ในเขตจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก และอุตรดิตถ์ ที่มีลำน้ำยมไหลจากจังหวัดแพร่ ผ่านแนวเขามาลงที่ราบในเขตอำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสําโรง มายังอำเภอเมืองสุโขทัย ก่อนจะวกไปทางตะวันออกเข้าหาลำน้ำน่านในเขตจังหวัดพิษณุโลกและพิจิตร

ลำน้ำยมนี้อยู่ทางตะวันตกของพื้นที่ที่เป็นแกนกลาง ส่วนทางตะวันออกมีลำน้ำน่านไหลผ่านเทือกเขา หุบแอ่งในที่สูงจากเขตอำเภอเวียงสามายังอำเภอท่าปลา ซึ่งกลายเป็นบริเวณเขื่อนสิริกิติ์ ผ่านบริเวณเขามาลงที่ราบตั้งแต่เขตเมืองฝางจนถึงอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ แล้วไหลลงทางใต้ผ่านอำเภอพิชัย อำเภอทองแสนขัน อำเภอวัดโบสถ์ มายังอําเภอเมืองพิษณุโลก และจากเมืองพิษณุโลกก็ไหลสู่ที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงในเขตอำเภอเมืองพิจิตรไปยังจังหวัดนครสวรรค์ 

พื้นที่ลำน้ำยมทางด้านตะวันตกกับลำน้ำน่านทางตะวันออก มีเมืองโบราณใหญ่ที่มีร่องรอยการสร้างเมืองใหม่ทับและมีการขยายเขตเมืองหลายสมัย ตั้งแต่ก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหงมาจนถึงสมัยอยุธยา คือเมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัยบนลุ่มน้ำยม เมืองทั้งสองเป็นเมืองคู่ โดยสุโขทัยอยู่ทางใต้และศรีสัชนาลัยอยู่ทางเหนือ ซึ่งในจารึกพ่อขุนรามคำแหงมักเรียกชื่อรวมกันว่า พ่อขุนรามคำแหงเป็นเจ้าเมืองศรีสัชนาลัย-สุโขทัย โดยใช้ชื่อเมืองศรีสัชนาลัยมาก่อน ในขณะที่ลุ่มน้ำน่านทางตะวันออกมีเมืองคู่บนลำน้ำเดียวกัน ที่ในศิลาจารึกเรียก สระหลวง-สองแคว โดยใช้เมืองสระหลวงที่อยู่ทางเหนือน้ำขึ้นก่อนและตามมาด้วยสองแคว ที่ปัจจุบันคือพิษณุโลก...’

จากศิลาจารึกสุโขทัยเช่นเดียวกัน กล่าวถึงเจ้าเมืองสุโขทัยในตอนต้น ว่ามีความสัมพันธ์ทางสังคมที่เกิดจากการกินดองระหว่างผู้เป็นเจ้าเมือง ๒ ตระกูล คือตระกูลพ่อขุนผาเมืองแห่งเมืองสองแคว กับพ่อขุนบางกลางหาวแห่งเมืองบางยาง ที่ต่อมาคือสระหลวงและทุ่งยั้ง 

โดยพ่อขุนบางกลางหาวแต่งงานกับนางเสือง ธิดาของพ่อขุนศรีนาว นำถม เจ้าเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย เมืองทั้งสองเป็นเมืองคู่ที่มีมาก่อน และมีรากเหง้าทางวัฒนธรรมมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทวารวดี และลพบุรี ต่อมาได้ถูกยึดครองโดยพ่อขุนศรีนาวนำถม เมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถมสิ้นพระชนม์ได้เลิกจดขึ้น...’

ส่วนการเคลื่อนย้ายของผู้คน ก่อเกิดเป็นบ้านเมืองและนครรัฐ อาจารย์ศรีศักร มองถึงพัฒนาการของเมืองโบราณในช่วงเวลานั้นว่า...`
 


วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เมืองพิษณุโลก
เดิมอยู่ในอาณาเขตเมืองสองแคว