ผู้เข้าชม
0
23 ตุลาคม 2567

๒. สถาปัตยกรรมพระวิหารและพระอุโบสถ พบว่า ส่วนสำคัญที่แสดงออกให้เห็นเอกลักษณ์ที่เด่นชัดของสกุลช่างท้องถิ่น คือ ระบบและโครงสร้างของหลังคาพระวิหารที่แตกต่างไปจากงานสกุลช่างหลวง โดยรับอิทธิพลจากวัดพระพุทธชินราชเป็นต้นแบบ แล้วนำมาปรับปรุงใช้เป็นแบบอย่างในท้องถิ่น ได้แก่ การวางตัวไม้แผ่นแบบพาดเชื่อมหัวเสาไปตามยาวอาคาร ในขณะที่สกุลช่างหลวงทั่วไปจะวางขื่อพาดเชื่อมหัวเสาตามขวางของอาคารก่อนจะบากรับไม้แป นอกจากนี้แล้ว การวางไม้กลอนและไขราก็ต่างไปจากสกุลช่างหลวง โดยช่างท้องถิ่นจะพาดไม้กลอนลงบนแปหัวเสา ในขณะที่สกุลช่างหลวงจะยกลอยไปจนที่เชิงกลอน โดยแปหัวเสาจะไม่ติดกันกับไม้กลอน 

๓. จากศิลปกรรมอื่นๆ ได้แก่ งานแกะสลักไม้บนหน้าบัน และงานจิตรกรรมเป็นงานของช่างท้องถิ่นที่ชัดเจน ได้สะท้อนให้เห็นแนวคิดและทัศนคติต่างๆ เช่น คติความเชื่อเรื่องไตรภูมิพุทธประวัติ และนิทานพื้นบ้าน ในส่วนของอายุศิลปกรรม ในส่วนที่ไม่มีหลักฐานประวัติการซ่อมก็เป็นการยากที่จะระบุเวลาลงไปแน่ชัด เพราะงานสกุลช่างท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับศาสนาจะอยู่ในขอบเขตจำกัด ไม่แผ่กว้างอย่างสกุลช่างหลวงที่สามารถเทียบเคียงรูปแบบและประวัติการสร้างได้จะมีชัดเจนที่สุดคือ การซ่อมในสมัยรัชกาลที่ ๓ และที่ ๕ 

เมื่อมาผนวกกับการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับภาษาถิ่นของตำบลทุ่งยั้ง หมู่ที่ ๒ ทุ่งยั้งเหนือ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เนื่องจากเป็นภาษาที่มีความแตกต่างจากภาษาอื่น โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาสุโขทัยและภาษาพิษณุโลก ก็ยิ่งยืนยันถึงสมมติฐานและการสังเคราะห์ตีความของอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ในทางภูมิวัฒนธรรมว่า ‘ทุ่งยั้งคือนครสระหลวง’ ตามในจารึกพ่อขุนรามคำแหงมากกว่าเมืองพิจิตร เพราะทางตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองมีที่ราบลุ่มหนองบึงสมกับที่จะได้ชื่อว่า สระหลวง และความเป็นเมืองคู่บนลุ่มน้ำน่านตะวันออก สระหลวง-สองแคว

 


 
อ้างอิง

'ทุ่งยั้งคือนครสระหลวง' โดย ศรีศักร วัลลิโภดม วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๔๕ ฉบับที่ ๑ เดือนมกราคม - มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

 

‘ทุ่งยั้ง: เมืองชนแดนแห่งลุ่มน้ำน่านและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์’ โดย วิยะดา ทองมิตร, ธีระวัฒน์ แสนคำ วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๔๕ ฉบับที่ ๑ เดือนมกราคม - มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

‘วิถีชนบนตำนาน : ตำนานเมืองพระห้าอิริยาบถ ทุ่งยั้งและเวียงเจ้าเงาะ’ โดย ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๔๕ ฉบับที่ ๑ เดือนมกราคม - มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

‘ประวัติพระแท่นศิลาอาสน์ และประวัติเมืองทุ่งยั้ง, เวียงท้าวสามล เวียงเจ้าเงาะ ในจังหวัดอุตรดิตถ์’ โดย สงัด รอดมัน 

'พระบรมธาตุทุ่งยั้ง ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองทุ่งยั้ง' โดย  ธีระวัฒน์ แสนคำ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์

'ประวัติพระบรมธาตุทุ่งยั้ง (รวบรวม)' โดย นรินทร์ ประภัสสร

'การศึกษาสถาปัตยกรรมวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง' โดย สุรยุทธ เพ็ชรพลาย วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ภาควิชาศิลปะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๓๖

'ทุ่งยั้ง' ศูนย์ข้อมูลวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

'วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง' หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

‘แนวกำแพงเมืองทุ่งยั้ง’ ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

'การเปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่นทุ่งยั้งเหนือ' โดย กองศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์



คำสำคัญ : พระบรมธาตุทุ่งยั้ง,เมืองโบราณทุ่่งยั้ง,สระหลวง,สองแคว,อุตรดิศถ์
พรเทพ เฮง
อีเมล์: [email protected]
จบการศึกษาจากคณะโบราณคดี สาขาวิชาเอกโบราณคดี รุ่น ๓๘ ทำงานด้านสื่อ ด้านวัฒนธรรม ศิลปะ และสาระบันเทิงมาค่อนชีวิต