ผู้เข้าชม
0
24 กันยายน 2567

ชุมชนยุคสุวรรณภูมิที่ริมน้ำแควน้อย ปราสาทเมืองสิงห์และข้อสันนิษฐานเครือข่ายเส้นทางติดต่อข้ามภูมิภาค

มีการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณริมแม่น้ำแควน้อยนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ การฝังศพพบในระดับความลึกประมาณ ๑.๕ เมตรจากผิวดินจำนวน ๔ โครง สภาพไม่สมบูรณ์ เนื่องจากถูกรบกวนจากสัตว์ในดินและอื่นๆ สิ่งของที่พบร่วมกับโครงกระดูกมีจำนวนมากทั้งภาชนะสำริด เครื่องประดับต่างๆ เช่น กำไลสำริด กำไลเปลือกหอย ลูกปัดหินอะเกตและคาร์นีเลียน ลูกปัดแก้ว เครื่องมือเหล็ก แวดินเผา ขวานสำริด ภาชนะดินเผา ๘ ใบ โดยวางเรียงต่อกันเป็นแนวทางด้านปลายเท้า ๗ ใบ และทัพพีสำริดใส่ไว้ในภาชนะดินเผาที่อยู่ปลายเท้า
 


บริเวณฝังศพยุคก่อนประวัติศาสตร์ในช่วงยุคเหล็กตอนปลายหรือสุวรรณภูมิ
บริเวณริ่มตลิ่งของริมแม่น้ำแควน้อย 
ที่อยู่บนโค้งแม่น้ำ 


บริเวณฝังศพยุคก่อนประวัติศาสตร์ในช่วงยุคเหล็กตอนปลายหรือสุวรรณภูมิ
บริเวณริ่มตลิ่งของริมแม่น้ำแควน้อย ที่อยู่บนโค้งแม่น้ำ 


ซึ่งโบราณวัตถุหลายชิ้น รวมทั้งรูปแบบพิธีกรรมการฝังศพ เห็นได้ชัดว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับแหล่งชุมชนที่ ‘บ้านดอนตาเพชร’ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ที่อยู่ห่างจากเมืองโบราณอู่ทองราว ๓๐ กิโลเมตร อายุจากการศึกษาขุดค้นทางโบราณคดีและโบราณวัตถุที่ดอนตาเพชรนั้นอยู่ที่ประมาณ ๒,๓๐๐-๑,๗๐๐ ปีมาแล้วหรือราวพุทธศตวรรษที่ ๓-๘

โบราณวัตถุชี้ชัดถึงการอยู่ในเส้นทางติดต่อกับชุมชนภายนอกจากอินเดียสมัยราชวงศ์โมริยะ-ศุงคะที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๓-๕ หรือหลังจากนั้นเล็กน้อย การพบต่างหูแบบลิง-ลิง-โอ ในวัฒนธรรมซาหวิ่น