ผู้เข้าชม
0
24 กันยายน 2567

แหล่งทรัพยากร ‘ตะกั่ว’ และ ‘ดีบุก’ บริเวณต้นน้ำแม่กลองและเส้นทางน้ำภายใน

การมีแหล่งแร่ดีบุกในเขตเทือกเขาตะนาวศรีลงไปถึงเทือกเขาภูเก็ตและเทือกเขาบรรทัดในเขต คาบสมุทรสยาม รวมทั้งในเขตคาบสมุทรมลายู ตรวจสอบจากแนวหินอัคนีซึ่งเป็นหินแกรนิต [Granite] ที่ให้กำเนิดแร่ดีบุกมากที่สุด เป็นแหล่งแร่แบบปฐมภูมิแนวแร่ดีบุกที่กล่าวมา คิดเป็นครึ่งหนึ่งของการผลิตดีบุกได้ทั่วโลกทีเดียว น่าจะมีการทำเหมือง ‘แร่ดีบุก’ ด้วยวิธีการร่อนแร่ดีบุกธรรมชาติจากการกัดเซาะสู่ลำธารต้นน้ำในเทือกเขาที่สูง โดยยังไม่มีการทำแร่กึ่งอุตสาหกรรมแบบเหมืองหาบที่เกิดขึ้นในช่วงรัตนโกสินทร์

ตำแหน่งของชุมชนและความต่อเนื่องของกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับการเป็นแหล่งแร่ โดยเฉพาะดีบุก รวมทั้งตะกั่ว ซึ่งมักจะพบแร่สังกะสีและเงินรวมอยู่ด้วยนั้น แบ่งออกอย่างสอดรับกันใน ๓ อาณาบริเวณคือ

๑. พื้นที่ทำแร่ในป่าเขาที่สูง
๒. ชุมชนที่อยู่อาศัยในเขตที่ราบลอนลูกคลื่นใกล้แหล่งน้ำขนาดใหญ่ และภูเขาหินปูนในระยะที่อยู่กึ่งกลางของแหล่งผลิต
๓. ชุมชนที่อยู่ใกล้เส้นทางคมนาคมทางน้ำเพื่อนำส่งสินค้าออกสู่ทะเลและการเดินทางระยะทางไกล

อย่างไรก็ตาม เส้นทางทรัพยากรตามที่ตั้งสมมติฐานเบื้องต้นนี้ไม่อาจรวมแร่ทองแดง ซึ่งพบว่ามีเหมืองทองแดงโบราณและการถลุงแร่ทองแดงระดับอุตสาหกรรมในช่วงก่อนประวัติศาสตร์อยู่ที่บริเวณเทือกเขาวงพระจันทร์ เมืองละโว้หรือลพบุรีเป็นแหล่งใหญ่ ซึ่งจนถึงการศึกษาในปัจจุบัน อาจจะเป็นแหล่งผลิตทองแดงที่ต่อเนื่องแหล่งใหญ่ที่สุดในเขตแผ่นดินภายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

๑. สวนผึ้งในเทือกเขาตะนาวศรี ขุมแร่ดีบุกโบราณที่สอดคล้องกับชุมชนยุคสุวรรณภูมิที่จอมบึง ปากท่อ และเมืองโบราณคูบัว

แหล่งทำเหมืองของ ‘สวนผึ้ง’ นั้นอยู่ในพื้นที่ ๓ กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรก เหมืองดีบุกยุคแรกแบบหาบล้วนอยู่ตามลำห้วยกล่าวกันว่ามีถึงห้าหรือหกสาย มีกลุ่มเหมืองในอดีตเช่น เหมืองโลหะศิริ เหมืองตะโกปิดทอง เหมืองลุงสิงห์ เหมืองเริ่มชัย เหมืองทุ่งเจดีย์ เหมืองเขากระโจม เหมืองผาปก-ค้างค้าว ไปจนถึงบ้านบ่อซึ่งเป็นจุดไหลลงลำน้ำภาชี

กลุ่มที่สอง ซึ่งอยู่ทางใต้ลงมาเป็นต้นน้ำภาชี มีเหมืองเช่นเหมืองห้วยม่วง เหมืองห้วยคอกหมู เหมืองบ่อคลึง เป็นต้น ทั้งสองกลุ่มอยู่ในเขตอำเภอสวนผึ้ง ส่วนกลุ่มที่สาม อยู่นอกแนวสันของสองกลุ่มแรกออกมาทางโป่งกระทิงและพุน้ำร้อนในพื้นที่อำเภอบ้านคาปัจจุบัน มีเหมืองพุน้ำร้อนที่อยู่ตอนในสุดหรือใต้สุด ต่อมาคือเหมืองจักรชัย และเหมืองลำบ่อทอง

นักสำรวจท้องถิ่นทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์อย่างอาจารย์สุรินทร์ เหลือลมัย ยืนยันจากประสบการณ์การสำรวจและรับฟังจากคำบอกเล่าว่า บริเวณลานแร่หรือเหมืองแร่ทุกแห่งของสวนผึ้งและบ้านคาจะพบโบราณวัตถุทั้งหินและโลหะปะปนอยู่ในชั้นเดียวกัน 

ที่น่าสนใจคือ พบมโหระทึกแบบเฮเกอร์ ๑ และโบราณวัตถุร่วมสมัยกับยุคเหล็กตอนปลายหรือยุคสุวรรณภูมิจำนวน ๓ แห่งที่
 


มโหระทึกที่บ้านหนองวัวดำในอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ซึ่งอยู่ไม่ไกลจาก
ห้วยสวนพลู เขาจมูก ที่พบเศษภาชนะสำริดแบบสัดส่วนดีบุกสูง