ซึ่งมีการสร้างปราสาทเมืองสิงห์ เมืองโกสินาราย์ เนินทางพระ อาคารดั้งเดิมที่วัดมหาธาตุ ราชบุรี และวัดกำแพงแลง เพชรบุรีที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมความเชื่อจากเขมรยุคบายนในกัมพูชาเมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘
การสืบเนื่องของชุมชนโบราณที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของสยามประเทศ ในตอนต้นน้ำคือในเขตลำน้ำแควน้อยและแควใหญ่ ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี เป็นพื้นที่ซึ่งมีชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์แต่ยุคโลหะขึ้นไปกระจัดกระจาย และเป็นบริเวณที่เส้นทางคมนาคมติดต่อหลากหลายทั้งเมืองมอญและเมืองทวายในประเทศพม่า ดินแดนลุ่มเจ้าพระยา เห็นร่องรอยของการเชื่อมต่อกับบ้านเมืองไปจนถึงกลุ่มเมืองเหนือของแคว้นสุโขทัย บ้านเมืองทางเชิงเขาพนมดงรักในเครือข่ายเครื่องถ้วยแบบบุรีรัมย์ กลุ่มละโว้/อโยธยา กลุ่มสยามที่ลงไปถึงคาบสมุทรของตามพรลิงค์ จากเส้นทางทรัพยากรแร่ธาตุดังที่กล่าวมานี้เป็นสำคัญ
และช่วงเวลาที่สืบเนื่องวัฒนธรรมของบ้านเมืองอันเก่าแก่นี้ทำให้เกิดบ้านเมืองในยุคต่อไปที่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีการรวบอำนาจทางการเมืองกระชับขึ้นจนกลายเป็นสยามประเทศในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐
บรรณานุกรม
ศรีศักร วัลลิโภดม. ตามสองฝั่งน้ำแม่กลองก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๐. เมืองโบราณ ปีที่ ๔, ฉบับที่ ๑ (ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๒๐), หน้า ๗๖-๙๕.
วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. เหมืองแร่และเครือข่ายการค้ายุคสุวรรณภูมิที่ราชบุรี. เมืองโบราณ
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์. http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th/muangsing/index.php/th/ (๑๑/๑๑/๖๖)
คำสำคัญ :