ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นเส้นทางและชุมชนเนื่องในการแลกเปลี่ยนควบคุมแร่ตะกั่ว สังกะสี และเงิน ในยุคสุวรรณภูมิและยุคลพบุรี-อู่ทอง
ข้อสันนิษฐานเส้นทางชุมชนที่อยู่ในกิจกรรมเนื่องในการทำเหมืองแร่โดยเฉพาะจากแร่ตะกั่วในยุคเริ่มแรก (มากกว่าหนึ่งพันปีขึ้นช่วงราวยุคสุวรรณภูมิ/ยุคลพบุรี/อู่ทอง-สุพรรณภูมิ) เปรียบเทียบจากการทำเหมืองแร่ตะกั่วราว พ.ศ. ๒๔๙๒ ลงมา ยังอยู่ในระยะเป็นข้อเสนอเพื่อตรวจสอบสมมติฐานเบื้องต้นและความน่าจะเป็นในเส้นทางติดต่อต่างๆ โดยแบ่งตามยุคสมัยโดยคร่าวๆ ออกเป็นสองช่วงดังนี้
๑. ยุคเหล็กตอนปลายหรือยุคสุวรรณภูมิ-ฟูนัน-ทวารวดี
๑. เหมืองทองผาภูมิ - แควน้อย - ลำน้ำภาชี - จอมบึง - สวนผึ้ง (เหมืองดีบุก) - ปากท่อ - คูบัว - โคกพริก ออกสู่อ่าวไทย (ยุคสุวรรณภูมิ-ฟูนัน)
๒. เหมืองทองผาภูมิ - แควน้อย - แม่น้ำแม่กลอง - เมืองคูบัว - ถนนท้าวอู่ทอง - เมืองท่าที่เขาเจ้าลาย ชะอำ ออกสู่อ่าวไทย (ยุคทวารวดี)
๓. เหมืองทองผาภูมิ - ลำห้วยขมิ้น - แควใหญ่ - ดอนตาเพชร - อู่ทอง - คลองท่าว้า - คลองขวาก (สามชุก) - คลองสีบัวทอง (อ่างทอง)
อนึ่ง การค้นพบในเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ เมื่อได้รับอนุญาตให้ทำทะเบียนบันทึกภาพจากการทำงานและการสะสมข้อมูลของ ‘คุณมนัส โอภากุล’ ผู้ล่วงลับ ซึ่งมีการบันทึกภาพและข้อมูลอย่างเป็นระบบและละเอียดมาก จนทำให้พบว่าบริเวณ ‘วัดสวนแตงริมลำน้ำท่าว้า’ ห่างจากวัดภูเขาดินลงมาทางใต้ราว ๖ กิโลเมตร พบโบราณวัตถุหน้าโรงเรียนวัดสวนแตงในปัจจุบันหลายชิ้นที่อยู่ในสมัยสุวรรณภูมิ คือ แหวนทองแกะเป็นรูปตรีรัตนะและเครื่องทองที่มีอิทธิพลการทำแบบแปะเม็ดทองขนาดเล็กๆ ซึ่งเป็นวิธีการทำเครื่องอิทธิพลเปอร์เซียโบราณและพบการผลิตมากแถบคอคอดกระทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ทำให้เห็นเส้นทางการคมนาคมในยุคสุวรรณภูมิจนถึงยุคสุพรรณภูมิ/อโยธยา ที่ลำน้ำท่าว้าคือเส้นทางสำคัญ (ขอบพระคุณครอบครัวโอภากุลและคุณยืนยง โอภากุล ที่อนุญาตให้ ‘มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์’ เผยแพร่และสนับสนุนการจัดทำระบบทะเบียนและการบันทึกภาพถ่าย)
๔. เหมืองทองผาภูมิ - ลำห้วยขมิ้น - แควใหญ่ - ข้ามเขาสู่ลำตะเพิน - บ้านตะเพินคี่ - บ้านพุน้ำร้อน (ด่านช้าง) - คลองบางขวาก (สามชุก) - คลองสีบัวทอง (อ่างทอง) หรือตัดสู่เส้นทางสู่อีสานในเขตที่ราบลอนลูกคลื่น ลพบุรี-ป่าสัก
แผนที่เก่ารัชกาลที่ ๖ แสดงบริเวณหน้าวัดสวนแตง ริมน้ำท่าว้า
ใกล้กับจุดที่พบโบราณวัตถุ คือ แหวนและเครื่องประดับทองคำ