ผู้เข้าชม
0
29 มิถุนายน 2563

 


 

 

สรุปให้กระชับคือเป็นระบอบเผด็จการที่มีความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติควบคุม ถ้าหากทรงประพฤติผิดทางศีลธรรม ก็จะถูกอำนาจเหนือธรรมชาติลงโทษ เพราะฉะนั้นพระมหากษัตริย์จึงต้องสยบต่ออำนาจเหนือธรรมชาติ โดยผ่านการกระทำทางประเพณีพิธีกรรมที่เป็นสิ่งสื่อสารให้ประชาชนซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองรับรู้

เมื่อมาถึงตอนนี้ก็หวนคิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙ ที่ไม่ได้ทรงเป็น เจว็ดภายใต้รัฐธรรมนูญ หากทรงเข้ามายุ่งเกี่ยวกับเรื่องทุกข์สุขของประชาชนร่วมกับทางฝ่ายรัฐบาลในลักษณะคู่ขนานในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจของบ้านเมือง ในยุคการเปลี่ยนผ่านจากสังคมเกษตรกรรมสู่อุตสาหกรรม ด้วยการเสด็จออกไปดูแลทุกข์สุขของประชาชนด้วยพระองค์เอง และทรงริเริ่มโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ ในการพัฒนาที่ได้ผล ดีกว่าการดำเนินการของทางรัฐบาลในรูปการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียง

พระองค์ไม่เกี่ยวข้องและก้าวล่วงในการใช้อำนาจตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ หากใช้อำนาจทาง ปัญญาบารมี อย่างกษัตริยาธิราชเจ้าในอดีต พระองค์ไม่ต้องเสด็จฯ ไปประชุมที่รัฐสภา แต่ทรงนำบรรดาข้าราชการที่จงรักภักดีไปร่วมสาบานต่อหน้าพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรในอุโบสถวัดพระแก้ว อันเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจเหนือจักรวาล ในพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา

เมื่อมาถึงตรงนี้ก็อดคิดไม่ได้ถึงสถานที่สัญลักษณ์ในถนนราชดำเนิน อันเป็นถนนที่เกิดขึ้นในสมัยราชาธิปไตย ดำรงอยู่เรื่อยมาจนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย สถานที่สำคัญมี ๓ แห่ง คือ

พระบรมมหาราชวังและวัดพระแก้วบนถนนราชดำเนินใน

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยบนถนนราชดำเนินกลาง

และพระบรมรูปทรงม้าที่ปลายถนนราชดำเนินนอก

สถานที่ทางสัญลักษณ์ทั้งสามนี้แตกต่างกันในความรู้สึกของประชาชนส่วนใหญ่ทั้งอดีตและในปัจจุบัน

 


ภาพ 'ยมานตกะ' [Yamataka]  เป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาแบบวัชรยาน

ให้ตระหนักถึงจุดหมายแห่งการเดินทางหรือการตื่นรู้ ในที่สุดคือความตาย

ภาพวาดยามะจากญี่ปุ่น ผู้พิพากษาความตาย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙