พระธาตุศรีสองรักสร้างขึ้นถวายเป็นอุเทสิกเจดีย์ (หมายถึงเจดีย์สร้างขึ้นโดยเจตนาอุทิศให้พระ-ศาสนา โดยไม่กำหนดว่าต้องเก็บรักษาสิ่งใด) แต่ก็มีหลายคนเชื่อว่ากษัตริย์ทั้งสองพระองค์น่าจะนำสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อาทิ พระพุทธรูป พระธรรมคัมภีร์บรรจุไว้ตามความเชื่อในศาสนาพุทธ
ตำนานความเชื่ออื่นๆ ที่กล่าวไว้ว่า พระธาตุศรีสองรักมี ‘นายมั่นนายคง’ ยอมอุทิศชีวิตเป็นข้าคอยเฝ้าไปชั่วนิรันดร์ และตำนานเรื่องเจ้าพ่อกวน-เจ้าแม่นางเทียมว่า เป็นวิญญาณของชาย-หญิงที่ถูกกีดกันในความรักและมาเสียชีวิตลงที่พระธาตุแห่งนี้ ซึ่งทั้งคู่หนีเข้าไปในอุโมงค์ตอนก่อสร้างองค์พระธาตุ แต่ว่าช่างไม่รู้ จึงได้ก่อสร้างปิดอุโมงค์จนทั้งสองเสียชีวิต กลายเป็นวิญญาณที่คอยเฝ้าปกปักรักษาองค์พระธาตุศรีสองรักมาจนถึงทุกวันนี้
ชาวบ้านกำลังสักการะพระธาตุศรีสองรัก
จากตามตำนานที่สืบทอดกันมาของพระธาตุศรีสองรักกล่าวไว้ว่า ได้สร้างขึ้น ณ ที่กึ่งกลางระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำน่านบนโคกไม้ติดกัน เริ่มสร้างแต่ พ.ศ. ๒๑๐๓ และเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๖ และได้ทำพิธีฉลองสมโภชในวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
ในแผ่นดินของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ผู้ครอบครองกรุงศรีอยุธยาแห่งอาณาจักรสยามสมัยนั้น และพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชผู้ครองกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) แห่งอาณาจักรล้านช้างสมัยนั้น เพื่อเป็นสักขีพยานในการทำสัญญาทางพระราชไมตรี และเป็นด่านกั้นเขตแดนของสองพระนครในสมัยโน้น
ทั้งนี้เนื่องจากในระหว่างที่กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ครองราชสมบัติตรงกับสมัยที่พม่าเรืองอำนาจ เพราะพม่ามีกษัตริย์ที่เข้มแข็งในการสงครามปกครองคือ พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ และพระเจ้าบุเรงนองได้ยกทัพมารุกรานกรุงศรีอยุธยา กับกรุงศรีสัตนาคนหุตหลายคราว สมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจึงทำไมตรีกัน เพื่อร่วมกันต่อสู้กับพม่า
พระธาตุศรีสองรักนี้ ประชาชนในท้องที่จังหวัดเลยและจังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือ เป็นปูชนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ในวันเพ็ญเดือน ๖ จะทำการพิธีสมโภชและนมัสการพระเจดีย์ขึ้นทุกปีจนถือเป็นประเพณีตลอดมาจนทุกวันนี้ นอกจากเป็นปูชนียสถานสำคัญของอำเภอด่านซ้าย ยังเป็นปูชนีย-สถานที่สำคัญที่สุดของจังหวัดเลย
เรื่องพระธาตุศรีสองรัก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความศักดิ์สิทธิ์ของเมืองด่านซ้าย โดยอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ซึ่งได้ใช้แนวคิดมานุษยวิทยาที่เน้นความสำคัญของศาสนากับสังคม มากกว่าการมองศาสนาลักษณะที่เป็นปรัชญาซึ่งหยุดนิ่ง โดยมองศาสนากับสังคมแลเห็นคนและความเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนแปลง
ทำให้เกิดความเข้าใจชีวิตวัฒนธรรมของผู้คนและเปิดมุมมองใหม่ทางภูมิวัฒนธรรมเกี่ยวกับพระธาตุที่มีลักษณะพิเศษในการเชื่อมโยงผู้คนและสังคมให้เชื่อมต่อกับลัทธิประเพณีผีบ้านและผีเมือง ผีและพุทธอยู่ร่วมกันได้อย่างมีกาลเทศะ ซึ่งเป็นรากฐานของชุมชนและเมืองมาตั้งแต่โบราณกาล ไว้ว่า