ผู้เข้าชม
0
19 สิงหาคม 2567

‘ …จากหลักฐานเหล่านี้ประกอบกัน ทำให้มีการพิจารณาในแนวคิดใหม่ว่า โบราณสถานปราสาทเมืองสิงห์ ไม่น่าจะเป็นของร่วมสมัยกับศิลปะขอมแบบบายนในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แต่น่าจะเป็นการก่อสร้างที่เลียนแบบปราสาทขอมสมัยหลังจากนั้น เมื่ออาณาจักรขอมได้เสื่อมลงอย่างสุดขีดหลังจากสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙) เนื่องจากการแตกแยกภายในราชวงศ์ขอม การทรุดโทรมทางเศรษฐกิจ และภัยรุกรานจากภายนอกอาณาจักรขอม ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นศูนย์แห่งจักรวาลของภูมิภาคนี้ได้เสื่อมสลายลง จึงเกิดการเกาะกลุ่มรวมตัวกันใหม่ระหว่างบ้านเมืองในภูมิภาคนี้เป็นแว่นแคว้นต่างๆ

ช่วงเวลานี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการแข่งขันกันสร้างสมอำนาจชอบธรรมของบ้านเมืองเหล่านี้ขึ้นแทนที่ศูนย์เดิมแห่งอาณาจักรขอมกัมพูชา ซึ่งบางแห่งได้พยายามนำคติทางพุทธศาสนาฝ่ายหินยานเข้ามา สร้างเสริม ดังจะเห็นได้จากความพยายามของแคว้นสุโขทัยเมื่อตอนปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท และกรุงศรีอยุธยาที่พยายามสืบทอดคติเก่าบางอย่างจากอาณาจักรขอมกัมพูชา โดยนำมาผสมผสานกลมกลืนกับคติใหม่ทางพุทธศาสนาฝ่ายหินยาน
 

เมืองกลอนโดในปัจจุบัน มีถนนตัดผ่านคูเมือง

ด้านซ้ายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านที่ชาวบ้านนับถือ

 

‘...ผลกรรมทำให้มาเกิดเป็นครุฑ มีกำเนิด ๔ อย่าง คือเกิดขึ้นเอง เกิดในครรภ์ เกิดในไข่ เกิดในเถ้าไคล ที่อยู่ของครุฑคือป่าหิมพานต์ เชิงเขาสิเนรุ สวรรค์จาตุมหาราชิกา ครุฑมีจะงอยปากแหลม เป็นครึ่งคนครึ่งนก มีปีกยาว มีกายใหญ่โต บินได้รวดเร็วในอากาศ เมื่อโผบินจะเกิดพายุ ครุฑเป็นศัตรูกับนาค หน้าที่ครุฑคือพิทักษ์ศาสนา ช่วยเหลือผู้มีศีลธรรม อ่อนน้อม ถ่อมตน ถือคำสัตย์ มีความกตัญญูกตเวที และมีมนตราวิเศษชื่อว่า อาลัมพายน์ 

อรรถปริวรรตศาสตร์กับการศึกษาคัมภีร์ในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นกุญแจดอกสำคัญของการตีความ เป็นการทำความเข้าใจตัวบท และเป็นการอธิบายความให้ถูกต้อง อรรถปริวรรตศาสตร์แนวตะวันออก เรียกว่า พุทธอรรถปริวรรต คือการตีความแนวพุทธ โดยใช้หลักการตีความในคัมภีร์เนตติปกรณ์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการตีความแนวพุทธ ได้แก่ หาระ ๑๖ นัย ๕ และสาสนปัฏฐาน ๑๖ นำมาตีความแนวคิดเรื่องครุฑในพุทธปรัชญาเถรวาทให้กระจ่าง และเป็นกลางทำให้สามารถไขข้อความที่น่าสงสัย ออกมาอย่างน่าอัศจรรย์นัก

จากการตีความแนวคิดเรื่องครุฑในพุทธปรัชญาเถรวาทพบว่า ครุฑในพุทธปรัชญาเถรวาทแบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ 

๑) ประเภทบุคลาธิษฐาน คือสัตว์เดรัจฉานประเภทหนึ่ง มีรูปร่างกึ่งเทวดากึ่งนก อยู่ในวิมานฉิมพลี กินนาคเป็นอาหาร เป็นศัตรูกับนาค เป็นบริวารของท้าววิรุฬหก และอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา มีกำเนิด ๔ แบบ คือเกิดในครรภ์ เกิดในฟองไข่ เกิดในสิ่งหมักหมม เกิดขึ้นมาแล้วโตทันที 

๒) ประเภทธรรมาธิษฐาน คือฝ่ายกุศลจิต จัดเป็นฝ่ายโวทาน มีศรัทธาในพระสงฆ์ ชอบสร้างมหาทาน รักษาศีล เจริญภาวนาเป็นประจำ ส่วนฝ่ายอกุศลจิต จัดเป็นฝ่ายกิเลส มีโมหะจริตหลงผิดว่า การฆ่าสัตว์ปีกไม่เป็นบาป ชอบอาฆาตริษยาต่อผู้อื่น ครุฑในแนวคิดพุทธปรัชญาเถรวาท ไม่มีชีวิตเป็นอมตะ ไม่ใช่ผู้วิเศษ เมื่อสิ้นอายุขัยแล้วจะต้องเกิดในสังสารวัฏ

จากการตีความและประกอบเรื่องราวสร้างใหม่ (Reconstruction) จากหลักฐานต่างๆ ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีใน ‘เมืองสิงห์ และปราสาทเมืองสิงห์ที่แควน้อย ไม่ใช่ “ขอม” (เขมร) ?!?’ โดย พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณคดี (โบราณคดีและพิพิธภัณฑ์) กรมศิลปากร ได้สรุปว่า ลักษณะโดยทั่วไปของเมืองสิงห์ ซึ่งประกอบด้วยกำแพงและคูน้ำหลายชั้นล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยมีศาสนสถานคือตัวปราสาทเมืองสิงห์เป็นศูนย์กลางของตัวเมืองนั้น เป็นรูปแบบของเมืองที่เรียกว่า ‘ปุระ’ หรือเมืองทางศาสนา ซึ่งในสมัยโบราณระยะหนึ่งนิยมใช้เป็นศูนย์กลางของชุมชนในระดับเมือง อันเป็นอิทธิพลทางวัฒนธรรมขอมแห่งประเทศกัมพูชา ที่จำลองแบบของจักรวาลที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางล้อมรอบด้วยทวีปและมหาสมุทรต่างๆ ซึ่งแสดงออกโดยกำแพง และคูเมืองหลายๆ ชั้น โดยโยงได้กับเมืองครุฑที่มิอาจจะไม่ข้องเกี่ยวกันได้