ผู้เข้าชม
0
4 พฤศจิกายน 2567

เครื่องถ้วยจีนรูปแบบนี้พบที่แหล่งอื่นๆ เช่นที่แหล่งโบราณคดีทุ่งตึก จังหวัดพังงา และแหล่งโบราณคดีควนลูกปัด จังหวัดกระบี่ นอกจากนั้น ยังพบเหรียญจีนสมัยราชวงศ์ถัง (อายุพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๕) ลักษณะเป็นเหรียญกลมเจาะรูตรงกลางเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีตัวอักษรจีนบนเหรียญ ๔ ตัว อ่านว่า คาย เอวียน ถ่ง ป่าว แปลว่าทำขึ้นในรัชกาลพระเจ้าคายเอวียน ซึ่งในภาคใต้ของไทยมีการค้นพบเหรียญรูปแบบเดียวกันนี้ ที่แหล่งโบราณคดีคลองท่าเรือและคลองท่าวัง จังหวัดนครศรีธรรมราช แหล่งโบราณคดีในอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา และแหล่งโบราณคดีบ้านดี อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

และยังพบปี้จีน (สำหรับใช้แทนเงิน) ลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีขาว มีการประดับด้วยลวดลายดอกไม้หลายสี และมีการเขียนตัวอักษรจีนทั้งสองด้านของปี้ รวมถึงการค้นพบชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าชาวจีนอย่างต่อเนื่องมาถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘....’
 


ตัวอย่างลูกปัดบางส่วนที่พบ
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา

 

การค้นพบหลักฐานลูกปัดเป็นจำนวนมากในแหล่งโบราณคดีแหลมโพธิ์ สนับสนุนว่าเมืองท่าแห่งนี้มีการติดต่อค้าขายกับอินเดียอย่างเป็นล่ำเป็นสันในสมัยศรีวิชัย คติความเชื่อ สภาพสังคม เศรษฐกิจการค้า และการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในแหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัยกับชุมชนทั้งในภูมิภาคและนอกภูมิภาค ผ่านการศึกษาและตีความจากหลักฐานทางโบราณคดีประเภทลูกปัดแก้วที่พบในแหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย และแหล่งโบราณคดีแห่งอื่นๆ ในภาคใต้ของไทย ด้วยวิธีการศึกษาลักษณะทางกายภาพ และองค์ประกอบทางเคมีของลูกปัดแก้วด้วยเทคนิค XRF ผลการวิเคราะห์พบว่าในแหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย 

ลูกปัดแก้วไม่เพียงแสดงให้เห็นถึงการติดต่อค้าขายกับอินเดีย จีน ตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๕ – ๙ เป็นต้นมา แต่ยังมีบทบาทสำคัญในฐานะวัตถุศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา และเป็นเครื่องบอกสถานภาพทางสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มคนผู้ใช้ลูกปัด 

นอกจากนั้น จากการวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของลูกปัดแก้ว พบความนิยมด้านสีของลูกปัดแก้วในภาคใต้ ๑๑ สี ได้แก่ สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีเขียว สีฟ้า สีน้ำเงิน สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ สีขาว และแบบเส้นสี การวิเคราะห์ด้านรูปทรง พบรูปทรงลูกปัดแก้ว ๘ รูปทรง ได้แก่ ทรงกระบอก (cylinder), ทรงกระบอกสั้น (cylinder disk), ทรงกลมแบน (oblate), ทรงหลอด (tube), ทรงวงแหวน (annular), ทรงกระบอกป่อง (barrel), ทรงกลมแป้น (spherical) และทรงมีคอคอด (collared)

ส่วนการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของลูกปัดแก้ว สามารถจัดแบ่งกลุ่มแก้วได้ ๗ กลุ่ม คือ m-Na-Al, m-Na-Ca, v-Na-Ca, m-K-Ca-Al, m-K-Al, Mixed-alkali glass และ Pb 

ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับลูกปัดแก้วที่พบในพื้นที่อื่นๆ ของโลก พบว่าลูกปัดแก้วในภาคใต้มีองค์ประกอบด้านรูปแบบและธาตุประกอบทางเคมีที่บ่งชี้ว่ามีแหล่งผลิตสำคัญอยู่ในอินเดีย จีน และตะวันออกกลาง อันแสดงให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในภาคใต้ของไทยกับอินเดีย จีน ตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนแสดงให้เห็นถึงรูปแบบความนิยมและความแพร่หลายของลูกปัดแก้วในภาคใต้ของไทย ในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ได้เป็นอย่างดี

‘….สำหรับหลักฐานที่แสดงถึงการติดต่อค้าขายกับตะวันออกกลาง เช่น ขวดแก้วอาหรับและเครื่องเคลือบเปอร์เซีย ลักษณะเป็นเครื่องเคลือบสีน้ำเงินหรือสีฟ้า เครื่องเคลือบประเภทนี้มีแหล่งผลิตในเปอร์เซีย (อายุพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๕)